ผมได้ติดตามเรื่องการสอนแบบ PBL : Project Base Learning หรือบางแห่งใช้คำว่า Problem Base Learning ที่เป็นการพัฒนาการสอนที่น่าจะเรียกว่า เอาตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือที่บ้านเราเคยฮิตก็ Child Center แต่โดนนักเรียนในโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ แห่งหนึ่งเปลี่ยนคำเรียกเสียใหม่ว่า ควายเซนเตอร์ เพราะเหตุผลใดเราก็คงรู้ๆ กันอยู่ ผมติดตามเพจของอาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนของ NUS (The National University of Singapore) หรือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ ที่เปลี่ยน "วิธีการสอน" จนทำให้ NUS กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ติดอันดับ 8 ในเวลาเพียงแค่สิบกว่าปี จนมีข้อสรุปง่ายๆ ว่า "วิธีสอน" สำคัญไม่น้อยไปกว่า "เรื่องที่สอน"
แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดมากมายนัก วันนี้ผมมีบทความของท่านอาจารย์สุทัศน์ เอกา ที่ท่านโพสท์ลงในหน้าเฟซบุ๊คของท่านจำนวน 3 ตอน น่าสนใจมาก ผมจึงได้ติดต่อขออนุญาตจากท่านนำมาลงเป็นบทความให้เพื่อนครูทุกท่านได้อ่านกัน การศึกษาของไทยคงต้องพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งถ้าพวกเราเริ่มลงมือกัน เพราะมีตัวอย่างให้เห็นกันแล้วทั้งในต่างประเทศ และในประเทศของเราก็เริ่มแล้วมีผลงานชัดเจนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดตามได้ทางเฟซบุ๊คด้วยการคลิกที่รูปอาจารย์ปริญญาข้างบนนะครับ...
PBL กับ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และยุทธศาสตร์ของไทย
ความท้าทายที่น่าลงสนาม “ประลองฝีมือ” ของครูไทย ในความมุ่งมั่นและจริงใจ ในการยกระดับการศึกษาของชาติ... โปรดอ่านบทความต่อไปนี้.. ผมมั่นใจ “ศักยภาพครูไทย เต็มร้อย.!.."
มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ The National University of Singapore หรือ NUS สามารถยกระดับคุณภาพของตนจนมีชื่อเสียงขึ้นเป็นอันดับ 8 ของโลก ด้วยการเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน จากการ Lecture ให้นักศึกษาฟัง และวัดผลโดยการสอบปลายภาค มาเป็นการสอนและการเรียน แบบใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียน หรือ PBL สิงคโปร์ทำได้ “ครูไทยก็ย่อมทำได้” เช่นกัน.. และเชื่อว่า “ไม่ต่างอะไรไปจากการแข่งขันกีฬาในสนาม.. ที่เราสามารถเอาชนะได้..” ผมมั่นใจในศักยภาพของคุณครูไทยเต็มเปี่ยม...
มารู้จัก PBL หรือ การสอนแบบใช้โครงการเป็นฐานการเรียน Project Base Learning และเป็นอันเดียวกันกับ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียน Problem Base Learning ให้ถ่องแท้ก่อนใช้..
วิธีการก็คือ...
เมื่อได้ปฏิบัติการเช่นนี้แล้ว.. "การเรียนรู้จะเกิดจากภายในของผู้เรียน.. Insight" เรียกการเรียนแบบนี้ว่า PBL คือ Project Base Learning การเรียนโดยใช้โครงการเป็นฐานการเรียนรู้ หรือ Problem Base Learning การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ นี้คือการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้คุณครู-อาจารย์ได้มองเห็นภาพกว้างๆ ว่า ท่านจะต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง เมื่อเวลาการใช้หลักสูตรใหม่มาถึง จะได้ไม่เกิด “ความสูญเปล่า” อย่างที่เคยเป็นก่อนหน้านี้ ผมจะค่อยๆ หยิบยกที่ละอย่างมาบอกกล่าวตามภาษาชาวบ้าน และไม่ทิ้งหลักวิชา เพื่อการสืบค้นสำหรับท่านที่สนใจ ค้นคว้าขอมูลเพื่อความยิ่งๆ ขึ้นไป...
แต่.. ก่อนที่เราจะเดินตามแนวทางของ PBL ก็ควรที่จะมารู้จักกับ คุณลักษณะสำคัญ 7 ประการของ PBL ดังนี้...
คือต้องรู้จัก "ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21" ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากการหลั่งไหลของสรรพวิทยาการ และข่าวสารข้อมูลทาง “อินเตอร์เน็ต” ที่ทุกคนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (นี่แหละครับคือที่มาของ Flipped Classroom) และ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เรียกว่า “นวัตกรรม 3R และ 4C” ดังนี้
ผมได้เคยกล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไว้ในที่หลายแห่ง และในที่นี้ก็ได้นำมากล่าวซ้ำอีก ซึ่งอาจก่อความรำคาญสำหรับบางท่านไปบ้าง ก็ต้องขออภัย เพราะผมอยากเน้นถึงที่มาที่ไปจริงๆ เพราะ “การรู้ถึงกำพืด” ของสิ่งต่างๆ นั้น สามารถทำให้เราเห็นสิ่งนั้นๆ ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง อันเป็นคุณประโยชน์ต่อตัวเราเองไม่มากก็น้อย...
“Need to Know” นี้หมายความว่า สิ่งที่จำนำมาให้เรียนนั้นต้องเป็น “สิ่งที่ทุกคนอยากจะรู้ร่วมกัน” ทั้ง ครู นักเรียน และสังคมภายนอก (ผมคิดว่า ข้อนี้กำลังเป็นปัญหาสำหรับคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร.. ที่ยังไม่สามารถเผยออกมาทั้งตัวหลักสูตร และรายวิชา แต่ปัญหาจะหมดไป หากเปิดใจกว้าง รับฟังความเห็นจากภายนอก) สำหรับคุณครู ผมขอแนะนำ “วิชาครู” เพื่อให้ผ่านข้อนี้ไปได้ ก็ด้วยหลักจิตวิทยา ตระกูล Behaviorism ครับ คุณครูต้องระดมพวกแรงจูงใจ Incentive, ตัวกระตุ้น Motivation, สิ่งเร้า Stimulus, การให้กำลังใจ Encouragement, และรางวัล reward, มาใช้อย่าง “มือชั้นครู” เพื่อ “โน้มน้าว” เข้าสู่บทเรียนให้ได้ แต่ต้อง “เห็นร่วมกัน Agreed” เพื่อไม่ให้หนีจากประเด็นของหลักการ Need to Know มากนัก.. เพราะมือชั้นครู.. ”อย่าให้เด็กจูงครู แต่ครูต้องจูงเด็ก ในเรื่องที่ทุกคน Need to Know”........
ข้อนี้สิเป็นเรื่องสำคัญที่ครูเก่าๆ ของเรา มักจะถูกโจมตีว่าเป็น “คนกรอกความรู้เข้าไปในหัวสมองเล็กๆ ของเด็ก จนมันล้น รับอะไรไม่ได้อีก.. จบออกไปแบบโง่ๆ ไร้คุณภาพ..." มาถึงยุคศตวรรษที่ 21 แล้ว... “Student’s Voice and Choice หรือ การรับฟังความคิดของผู้เรียน ให้เขาเลือกในสิ่งที่เขาต้องการนี้ คุณครูต้องจัดให้อย่างเต็มที่ เพราะมันเป็นการสอน และ “ฝึกฝน” ให้กล้าแสดงออกและยอมรับฟังคนอื่นด้วยเหตุผล มันเป็นการเสริมกำลังใจและให้เกียรติแก่กัน
นักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องการรู้.. ครู เป็นผู้คอยชี้แนะ “แบบตะล่อมๆ” ให้ตรงทิศทาง.. เปรียบเหมือนว่าให้คนได้กินอาหารขณะที่กำลังหิว เขาจะกินได้มากและมีความสุข หรือจะทำห้องเรียนเป็นเหมือน “สภาเล็กๆ โดยมีคุณครูเป็นประธานสภา” ช่วยกันเลือก “หัวข้อที่จะทำเป็นโครงการ หรือปัญหา” เพื่อให้พวกเขาได้ไป Inquiry… เอา “ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ” ได้อย่างเต็มที่ การพูดโน้มน้าวและโหวตเสียงเหมือนสภาเล็กนี้ก็ดีเหมือนกันนะครับ เป็นการฝึกนักการเมืองน้ำดีไปในตัว เพื่อเมืองไทยจะได้ก้าวหน้าเหมือนประเทศอื่นเขาบ้าง
ใช้คำถามเป็นตัวขับเคลื่อนท้าทาย หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ “แสวงหาความรู้” วิธีการเรียนของ PBL นี้ผู้เรียนใช้กระบวนการแบบ “สืบสวนสอบสวน Inquiry method” เป็นวิธีการหาความรู้โดยการสืบสาวราวเรื่อง สอบถาม ซักไล่เรียง ทั้งจากสถานที่ วัตถุ บุคคล หนังสือ หลักฐาน และโลกไซเบอร์ การสื่อสารทางไกล อินเตอร์เน็ต เพื่อตอบคำถามที่ซับซ้อน ตอบปัญหา หรือหาคำตอบต่อสิ่งท้าทายต่างๆ
ดังนั้นการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ จากการแสวงหาคำตอบ “ต่อปัญหา หรือคำถามที่ได้ร่วมมือกันเลือกสรรอย่างรอบคอบมาแล้ว จากทั้ง ครู และนักเรียนแต่ละกลุ่มการเรียนรู้ช่วยกันเลือก ส่วนคำถามที่ใช้เป็นตัวขับเคลื่อนหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้นั้น “เป็นคำถามประเภทปลายเปิด Open-end Question” คือสามารถที่จะมีคำตอบที่หลากหลาย ซึ่งล้วนแต่สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน
ตัวอย่างเช่น “มีวิธีการใดบ้างที่จะทำให้โรงเรียนของเราน่าอยู่..?.” ซึ่งเราอาจแนะให้ไปหาความรู้จาก อินเตอร์เนต หรือสอบถามผู้รู้และมีประสบการณ์ ซึ่งแสดงหลักฐาน การหาความรู้นั้นได้ จาก “ใบงาน” หรือระบบ RC คือการควบคุมเส้นทางการเรียนรู้ต่างๆ ที่เรียกว่า Learning Route Control นั่นเอง..
Inquiry and Innovation หมายความว่า “ผู้เรียน” ต้องแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสืบสาวราวเรื่อง การสอบถามจากแหล่งวิชาต่างๆ การค้นคว้า ค้นหา สืบหา ทดสอบ ทบทวนหาข้อเท็จจริงด้วยวิธีการต่างๆ จากอุปกรณ์การสื่อสาร เทคโนโลยีไร้พรมแดนต่าง จากคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต ไอที ฯลฯ นี้รวมเรียกว่า Inquiry และโดยวิธีนี้ คุณครูอาจต้องให้ความรู้พื้นฐานพอที่จะ “นำทาง Lead” ไปต่อยอดแสวงหาความรู้และความเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ จนสามารถ ”สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ construct something new” ขึ้นมาในตัวของผู้เรียน
เป็นต้นว่า ความคิด Idea การตีความหมาย Interpretation และ”นำเสนอ Presentation สิ่งใหม่ๆ ที่พวกเขาได่เรียนรู้มา ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรม หรือ Innovation นั่นเอง สำหรับเรื่อง Inquiry Method นี้ อยากจะขอทบทวนกับคุณครูสักเล็กน้อย ดังนี้
ขั้นตอน “การสอนและการเรียน” แบบ Inquiry อย่างย่อๆ มีดังนี้...
ขั้นที่ 1. การร่วมมือกันตั้ง ปัญหา หรือ โครงการ Problem or Project ที่อยู่ในความสนใจและทุกคน “มีความเห็นชอบร่วมกัน” ปัญหานี้อาจได้มาจาก บทเรียน เหตุการณ์ของสังคม ปัญหาของประชาชน เรื่องของศีลธรรมและคุณธรรม..ฯลฯ.. ตรงกับ คุณลักษณะข้อ 2. ของ PBL
ขั้นที่ 2.ทุกคนร่วมกันคิดหาคำตอบที่หลากหลาย เรียกว่า “ตั้งสมมุติฐาน” ว่า เรื่องนั้นๆ จะมี “คำตอบอย่างไรได้บ้าง" แต่คำตอบที่ให้นี้ต้อง “มีเหตุผลน่าเชื่อถือ” และเป็นที่ยอมรับ เรียกว่า “ขั้นตั้งสมมุติฐาน”
ขั้นที่ 3. ร่วมกันวางแผน “พิสูจน์คำตอบ” ที่ได้จาก ข้อ 2. ว่าจะสามารถหาความจริง หรือ คำตอบแต่ละข้อ ได้จากที่ใดบ้าง อาจเป็น บุคคลที่น่าเชื่อถือ แหล่งประกอบการ ที่เกิดเหตุ พยานแวดล้อม หนังสือตำรา คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต Ipad... หรือเครื่องมือสื่อสารไร้พรมแดนทั้งหลาย....
ขั้นที่ 4.ดำเนินการ “ตามแผนที่วางไว้” ในขั้นตอนนี้เองที่เป็นการ “แสวงหาความรู้อย่างแท้จริง” เป็นการ ”ฝึกฝน” วิธีการที่จะเข้าไปหาความรู้.. เรียกว่า “Learn….How to Learn หรือ เรียนรู้วิธีเรียน” นี้เป็นจุดประสงค์สำคัญของการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกัน.....
ขั้นที่ 5. สรุปผลที่ได้จากการแสวงหาคำตอบ ซึ่งคำตอบนี้จะตรงตามสมมุติฐาน หรือ ไม่ตรงตามสมมุติฐานก็ได้ แต่สุดท้ายผู้เรียนก็รู้ได้ด้วยตนเองว่า “ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร” นี่เองที่ต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ หรือ Critical Thinking และเตรียมการเพื่อนำเสนอ Presentation ต่อไป
ขั้นที่ 6.การนำเสนอ Presentation รอผลการ Feedback เพื่อการปรับปรุงแก้ไข Revision ต่อไป
เมื่อทุกคนได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแบบของ PBL แล้ว ทุกคนต้องแสดงออกซึ่ง “ผลแห่งการเรียนรู้” นั้นๆ ออกมาเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้อื่น เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่า พวกเขาได้ผ่านการเรียนรู้นั้นๆ มาจริง อาจเป็นการแสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ หรือการอภิปราย เราเรียกการนำเสนอนี้ว่า Presented Product
การรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นเป็นสิ่งดีมาก ผู้แสวงหาความก้าวหน้าแก่ตนเอง ย่อมเห็นคุณค่า และ ”สำนึกในพระคุณ” ของข้อ “วิจารณ์ หรือ Criticism หรือ Feedback” ที่ผู้อื่นและสังคมภายนอกวิจารณ์ตน ให้เรานำข้อ “วิจารณ์หรือติเตียนหรือ Feedback” นี้ไป ”ปรับปรุงแก้ไข หรือ Revision” ให้มีคุณภาพและสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างดี และตรงทางที่สุด นี้เป็นจุดมุ่งหมายอันสำคัญข้อหนึ่งของการเรียนการสอนแบบ PBL ที่ผู้เรียนทั้งหลายจะต้องผ่านกระบวรการนี้
จริงอยู่ในสังคมหนึ่งๆ อาจมีจุดประสงค์ในการวิจารณ์ทั้ง “ด้านบวกและด้านลบ” แต่เราก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเอาแต่สิ่งดีๆ มาสานต่อ และไม่สนอบตบต่อสิ่งเลวที่ไร้ค่า อย่างนี้เรียกว่า เรามีความรู้เรื่อง “การคิดวิเคราะห์ หรือ Critical Thinking” อย่างดีมาแล้วนั่นเอง...
เท่าที่ได้กล่าวถึง คุณลักษณะทั้ง 7 ประการของ PBL นี้ คงเห็นได้แล้วว่า PBL คือ การเรียนโดยให้นักเรียน “มีประสบการณ์..โดยวิธีผ่านกระบวนการ Inquiry หรือ สืบเสาะสืบสวน ค้นหาความรู้” เพื่อสนองตอบ “คำถาม หรือ ปัญหา หรือ ความท้าทาย” ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน “มีสิทธิ์มีเสียง” ในการเลือกสิ่งที่จะเรียนได้.. ”ตามสมควร some degree” และถ้าเป็น “โครงการ หรือ ปัญหา ที่สำคัญ rigorous projects or problems” ต้องมีการวางแผนและมีการจัดการอย่างรอบคอบทุกๆ ด้าน และมีการ “ประเมินผล Assessed” และ “วิจัยชั้นเรียน Classroom Action Research” เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ “เนื้อหาวิชาการที่เป็นทักษะสำคัญของศตวรรษที่ 21" เป็นต้นว่า การทำงานร่วมกัน Collaboration, การสื่อสาร communication, การคิดวิเคราะห์ Critical Thinking..ฯ.เป็นต้น.. ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพการเรียนรู้ที่สูงขึ้นอย่างแท้จริง จนสามารถแสดง หรือ Presentation ต่อสาธารณชนได้..นั่นเอง...
“ก่อนออกแบบการสอน และ ออกแบบการเรียน" คุณครูอาจกำลังมองหาคำตอบบางข้อ ดังต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะสำหรับคุณครูที่ใช้ PBL ในการเรียนการสอน แม้เราจะเรียกว่านี่คือ “นวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ 21” แต่ผมขอเรียนว่า มันไม่ใช่ของใหม่ทั้งหมด แต่เป็น “ของเก่า” ที่ได้รับการต่อยอดมาจาก การสอนแบบโบราณ Traditional Teaching, หลักการศึกษาแบบ Behaviorism, แบบ Cognitivism, และแบบ Constructivism ดังนั้นจึงเป็นของง่ายที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ซึ่งขอแนะแนวทางเป็นข้อๆ ดังนี้
และนี้คือบทสรุปของ PBL ที่ผมนำเสนอมาทั้งหมด ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาให้ความสนใจ และติดตามครับ....
จบบทนี้แล้ว “เชิญครูไทยใจเกินร้อย” ออก Start..ยกระดับการศึกษาของชาติ... “ประชาชนจะไปรอมอบรางวัลแก่คุณครูที่เส้นชัย”....
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)