foto1
ความงดงามการศึกษาไทย
foto1
เพื่อ?
foto1
ไม่เข้าใจ?
foto1
วิทยากรที่กระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว
foto1
ท่องทะเลทรายที่ดูไบ UAE


Friendly Links

เรียนรู้ภาษา html
isangate banner
easyhome banner
ipst banner
sakdibhornssup foundation
13 Thai free fonts
speedtest
e mil

Facebook Likebox

No. of Page View

teacher warning

local child 06ความจริงข่าวนี้เป็นข่าวเก่าแล้ว แต่อ่านทีไรก็รู้สึกผิดจริงๆ แหละ เนื้อข่าวแบบย่อๆ มีดังนี้ครับ "สาเหตุท่ีการปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ประสบความสำเร็จว่า ครูไทยยังไม่ได้รับการพัฒนา ไม่มีวิธีการที่แน่นอนในการสอน ยังสอนแบบง่ายๆ คือ สอนให้เด็กท่องจำ เรียนแบบท่องจำทั้งไม่สามารถจะจำได้นานเพราะไม่มีหลัก ไม่ได้สอนทักษะวิธีการคิดให้เด็ก ทำให้เด็กไทยนอกจากขาดการฝึกคิดแล้ว ยังขาดความเข้าใจ ขาดการสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ สิ่งเหล่านี้ครูต้องฝึกและเปิดโอกาสให้เด็กการทำกิจกรรม โดยสิ่งต่างๆเหล่านี้จะต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน เด็กถึงจะคิดได้เก่งและรู้จักคิดอย่างหลากหลาย ทุกวันนี้ครูยังติดกรอบเดิมคิดได้ทางเดียว หากเด็กคิดต่างไปจากครูจะผิดทันที"

ครับถูกต้อง ทฤษฎีนี้ใช่เลย แต่บริบทมันต่างกันครับ ผู้พูดข้อความข้างต้นสอนในมหาวิทยาลัย ปฏิบัติงานวิจัยกับโรงเรียนสาธิต อย่าถามถึงศักยภาพของเด็กว่า ต่างจากบ้านโคกอีแร้งมากมายแค่ไหน พ่อแม่มีเงิน มีทรัพยากร และต้นทุนทางสังคมสูง อาหารหลักครบ 5 หมู่ (หรืออาจจะเจ็ด แปดหมู่ก็ได้) ต่างจากบ้านโคกอีแร้งที่มีข้าวกับน้ำพริก มีปลาชิ้นเล็กๆ เสริม เพิ่มด้วยผักเท่าที่หาได้ริมรั้วก็หรูแล้ว ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เด็กพบเจอย่อมมากมาย ได้คิด ได้เรียนรู้ แต่....

เด็กบ้านนอกทั้งหลายนั้นมีที่มาพื้นฐานแตกต่างกันราวกับฟ้าและเหว... ผมเคยพูดถึงหลายครั้งแล้วเรื่องสอนให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มันไม่สำเร็จเพราะอะไร มาจากพื้นฐานของครอบครัวและสังคมรอบข้างครับ ครูนั่นปลายเหตุมากเลย จะยกตัวอย่างให้ฟัง เด็กชายก้อนคำ พ่อทำงานก่อสร้าง (มีฝีมือฉาบปูนเยี่ยม) แม่ขายผักในตลาด (เรื่องบ่นด่า นี่กระจาย) รู้กันไปทั่ว ตอนเย็น เด็กชายก้อนคำกลับจากโรงเรียนต้องหุงข้าว ล้างจาน แล้วไปช่วยแม่เก็บข้าวของจากตลาดกลับบ้าน ถึงบ้านเวลาทานอาหารเย็นก้อนคำสงสัยอยากถามจึงเอ่ยปากว่า "..." (ยังไม่ได้พูด) พ่อตวาดด้วยฤทธิ์สุรา 40 ดีกรีว่า "อย่ามาพูดมาถามเวลากินข้าว"

หลังทานอาหารเย็นเสร็จ พ่อเอนตัวลงนอน แม่บ่นเรื่องเงินไม่พอใช้จ่าย ก้อนคำอ้าปากจะถาม... แม่ตวาดสำทับ "ไม่ใช่เรื่องของเด็ก อย่ามาสอด"...

แล้วคุณคิดว่า ก้อนคำ จะกล้าแสดงความคิดเห็นอะไรได้อีก ยังมีอีกหลายๆ ครอบครัวก็เป็นแบบนี้ พอมาถึงที่โรงเรียน ครูผู้มีจิตวิทยาการสอนล้ำเลิศ ได้ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางช่วยกันระดมความคิดเห็น ก้อนคำจะกล้าพูดหรือ... เพราะกลัวคนอื่นจะว่าเป็น ส เสือ ใส่เกือก เข้าให้ ทั้งห้องจึงมีแต่ความเงียบ เงียบ และเงียบ จนเวลาผ่านไปหมดชั่วโมง ไม่ได้อะไร ไม่มีคำตอบ เรื่องจึงลงเอยที่ครูสรุปและให้ลอกจากกระดานดำ

ครูคนอื่นๆ ว่าไงครับ... ผมและคุณเป็นจำเลยแล้วนะ แก้อย่างไรดี....

thai children 08ผมยอมรับในความต่างของสังคมและครอบครัว การสร้างให้เด็กได้คิด จึงไม่ใช่เริ่มต้นที่ครู แต่ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ ไม่จำเป็นต้องร่ำรวยล้นฟ้า ก็สามารถสอนและให้ประสบการณ์เขาได้ เพียงแต่ครอบครัวจะต้องไม่ดูถูกตนเองว่า ต่ำต้อยน้อยวาสนา อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่เหนือกว่า จงมองไปยังคนที่อยู่ในสถานะต่ำกว่าเราบ้าง ว่าเขาลำบาก เขาดิ้นรนขวานขวายก็ยังแย่กว่าเราอยู่ จะทำให้มีกำลังใจ

เหมือนครอบครัวของก้อนคำ ถ้าพ่อเหนื่อยแล้วงดเหล้า กลับบ้านมานอนพักผ่อนเอาแรง ดูแลเอาใจใส่ลูกสักนิด แม่แม้จะเหน็ดเหนื่อยชักหน้าไม่ถึงหลัง แต่ก็มีข้าวสารกรอกหม้อ มีผัก ปลา พอได้เป็นอาหารของครอบครัว จะปลอบประโลมลูก ให้กำลังใจแทนการตวาด ถามสักคำว่า วันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไร มีการบ้านไหม ทำเสร็จหรือยังลูก เท่านี้ก็จะช่วยให้ก้อนคำยืนหยัดกล้าหาญ กล้าแสดงออกแล้ว

ครอบครัวที่เราคิดว่าน่าจะไม่มีปัญหา ก็ยังมีปัญหาได้ พ่อเป็นทนายความ แม่เป็นครู มีลูกชายหัวแก้วหัวแหวน รักลูกมาก ส่งเสริมให้ลูกเป็นผู้ชายเข้มแข็ง ใครมาระรานจัดการมันเลย พ่อเอ็งเป็นทนายไม่ต้องกลัว ส่วนแม่ก็ทำนองเดียวกัน ครูคนไหนกดคะแนนบอกแม่ เดี๋ยวจะไปจัดการให้ ไม่ต้องให้บอกกระมังว่า ไอ้ลูกชายหัวแก้วมันกลายเป็นหัวไม้นักเลงโตไปแล้ว

ครูทุกคนอยากสอนให้ลูกศิษย์ได้ดีกันทั้งนั้นแหละครับ ลูกศิษย์เติบใหญ่ มีอนาคตไกล อาชีพมั่นคง ครูก็มีความสุขใจเมื่อส่งเขาถึงฝั่งฝัน แต่เราเลือกลูกศิษย์ไม่ได้อย่างโรงเรียนสาธิต เรามีตัวป้อนที่แตกต่างกันมากมายหลายร้อยพันแบบ การที่จะหล่อหลอมให้ได้ดังงานวิจัยในมหาวิทยาลัยจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก แต่อย่างไรก็ขอบคุณที่ท่านคอยสะกิดเรา จะพยายามครับแม้จะพายเรือทวนน้ำเชี่ยวกรากก็เถอะ....

สารพัดจัดการสอบ อะไรคือ คุณภาพ

ถ้าใครมีลูกที่เรียนอยู่ชั้น ม.5 ม.6 ปีนี้ จะเห็นถึงความโกลาหลของการจัดสอบคัดเลือกนานาชื่อ ปรากฏตามข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ตั้งแต่ O-NET, GAT, PAT, โควต้ารับตรง สารพัดแห่งที่ประกาศออกมา ควักกระเป๋ากันเป็นมันเพื่อให้ลูกได้ลงสนาม พ่อแม่ที่ติดตามข่าวสารหน่อยก็ดีสำหรับลูกที่ได้โอกาส ส่วนพ่อแม่ที่ไม่รู้เรื่อง หรือไม่ทันตั้งตัวพอลูกขอเงินจะไปสอบหาให้ไม่ได้ ก็แน่นอนว่า ท่านได้ลั่นดาลปิดประตูอนาคตของลูกไปเสียแล้ว

นี่ขนาดผมอยู่ในวงการการศึกษาก็ยังช่วยหาคำตอบให้พ่อแม่ ผู้ปกครองนักเรียนเข้าใจได้ยาก มันอะไรกันนักหนา ค่าใช้จ่ายทางการศึกษามันมากมหาศาลจริงๆ ตอนนี้มีผู้เสนอเข้ามาอีกแล้ว ให้ใช้ข้อสอบโอเน็ตแทนสอบปลายภาคของนักเรียน ม.6 เอา... เอากันเข้าไป

ประเทศไทยเรานี่แปลกครับ มาเป็นยุคๆ ตั้งแต่การปฏิรูปครั้งแรกก็บอกว่า เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนหลากหลาย ตามความถนัดและความสนใจ ก็ทำหลักสูตรกันไปตามความเข้าใจที่แตกต่าง บริบทของโรงเรียนที่ต่างกัน ศักยภาพในทางวิชาการที่แตกต่างกัน เกิดการลอกหลักสูตรและดัดแปลงกันมากมายนับพันหลักสูตร บางโรงเรียนก็จะถากขอนไม้ ต้นซุงให้กลมสวย ขัดด้วยกระดาษทรายดูดี บางโรงก็ชอบเสาเหลี่ยมเลื่อยซอยเป็นแท่ง ขัดมันชักเงาดูเด่น

child country

พอได้ผลิตผลออกมาแล้ว มหาวิทยาลัยบอกว่า อยากได้เสาปูนหกเหลี่ยมไปต่อยอด ไม่สนใจใครจะถาก จะกลึง จะเลื่อย จะซอยมาอย่างไร ต้องมาผ่านเครื่องกรองฉันก่อน ตอนนี้เราถึงได้เห็นแต่ละมหาวิทยาลัยจัดแจงสอบรับตรงกันเป็นว่าเล่น เพื่อคัด คั้นเอาแต่หัวกระทิไปก่อนใคร ผู้ที่เดือดร้อนวุ่นวายจะเป็นใครถ้าไม่ใช่พ่อแม่เด็กยุคนี้ที่ต้องสิ้น เปลืองเงินทองหลายหมื่นบาทเพื่ออนาคตให้ลูกได้ถึงฝั่งฝัน

และแน่นอนว่า ถ้ามีการสอบโอเน็ตแทนการสอบวัดผลปลายภาคนักเรียน ม.6 คนที่จะกอบโกยรายได้มหาศาลคือ โรงเรียนกวดวิชา กวดเตรียมสอบโอเน็ตและปลายภาค ในโรงเรียนก็เป็นแค่ที่นั่งรอเรียนพิเศษในคาบเวลาปกติเท่านั้นเอง.... แจ่มจริงๆ ครับ

พูดไปก็เหนื่อยครับ ผมโชคดีที่ลูกหลุดพ้นวงโคจรสอบอุตลุตไปก่อน นี่ก็รอเพียงให้เขามีการงานทำเป็นหลักแหล่ง มีรายได้มั่นคงเลี้ยงตัวเองได้ ส่วนพ่อก็คงขอไปตามฝันของตัวเองอีกสักครา... พ่อยังรอวันนั้นวันความสำเร็จของลูกๆ อยู่อย่างจดจ่อ...

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)

Our Policy