สำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก หรือมีเนื้อหาไม่มากนัก แต่ใช้การนำเสนอด้วยภาพกราฟิกจำนวนมาก หรือใช้ภาพที่มีการเคลื่อนไหว โดยใช้เทคโนโลยีการแสดงผลแบบแฟลช มักจะใช้การสร้างเว็บให้มีการแสดงผลแบบเฟรม
Frame : การสร้างเว็บเพจให้มีการแสดงผลแบบเฟรม |
การสร้างเว็บเพจให้มีการแสดงผลแบบเฟรม FRAME เป็นการแบ่งพื้นที่จอภาพออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แสดงผลด้วยไฟล์ที่แตกต่างกัน ดังภาพ
เมื่อเราคลิกที่เมนูในหัวข้อทางด้านซ้ายมือ (1) เนื้อหาในส่วนแสดงผลฝั่งขวามือ (3) เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหัวเรื่อง (2) จะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนว่าการแสดงผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การแบ่งหน้าจอแบบนี้จะต้องสร้างไฟล์ HTML ขึ้นมาอย่างน้อย 4 ไฟล์ คือ
- ไฟล์ที่ 1 เป็นไฟล์ควบคุมการแสดงผลของเฟรมซ้าย (1) เฟรมขวา (3) และเฟรมบน (2) เรียกว่า Control Frame
- ไฟล์ที่ 2 เป็นไฟล์เมนูสำหรับการกำหนดหัวข้อให้เลือกในเฟรมซ้าย
- ไฟล์ที่ 3 เป็นไฟล์สำหรับการแสดงผลหัวเรื่องหรือข้อความที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
- ไฟล์ที่ 4 เป็นไฟล์เนื้อหาที่จะแสดงสัมพันธ์กับหัวข้อในไฟล์เมนู ซึ่งจำนวนไฟล์ที่ 4 นี้จะมีจำนวนเท่ากับหัวข้อในไฟล์ที่ 2 เป็นอย่างน้อย (ตัวอย่างในภาพจะมีไฟล์ที่ 4 จำนวนถึง 8 ไฟล์ตามหัวข้อ)
เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้ และประหยัดเวลา ผู้ชมสามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างของการสร้างเฟรม ไปศึกษาเองได้ เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้ทำการคลายไฟล์บีบอัดออกมา จะมีไฟล์ html จำนวน 6 ไฟล์และโฟลเดอร์ชื่อ images สำหรับเก็บภาพประกอบ
เมื่อเรียกไฟล์ index.html แสดงผลผ่านบราวเซอร์ก็จะปรากฏผลดังภาพด้านล่าง ซึ่งจะมีรายละเอียดแสดงคำสั่งในการแสดงผลอธิบายไว้แล้ว
iFrame : การเรียกหน้าเว็บเพจจากที่อื่นมาแสดงในหน้าเว็บเรา |
นอกจากน ี้เรายังสามารถเรียกไฟล์เนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นๆ มาแสดงผลภายในหน้าเว็บเพจ ของเราได้ ด้วยการใช้คำสั่ง iframe สามารถกำหนดขนาดหน้าจอแสดงผล (ความกว้าง/สูงของเฟรมได้) เช่น
ตัวอย่างคำสั่ง |
<iframe src="http://www.isangate.com/radio_online.html" width="100%" height="650" border="0"></iframe> |
ตัวอย่างการแสดงผล |
|
นี่เป็นเพียงเทคนิคส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาใช้งานในเว็บไซต์ของเรา ยังมีเทคนิคอีกเป็นจำนวนมาก ที่สามารถค้นหานำมาใช้เพิ่มเติมได้ในภายหลัง เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับเว็บไซต์ของเรา เช่น การสร้างระบบสมัครสมาชิก การทำสมุดเยี่ยม หรือตัวนับจำนวนผู้ชมและสถิติต่างๆ
|