Image_01 Image_02 Image_03
Krumontree.com Krumontree.com Krumontree.com
Home
Internet and Browser
Create and Design
Basic HTML
Beautiful Images
Control with Table
Links to the others
More tips and Tricks
FTP to Web Hosting
left_bottom

บทเรียนในการศึกษาภาษา HTML ต่อไปนี้ มีความประสงค์จะให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน และทำความเข้าใจในการเขียนโค๊ดคำสั่งด้วยตนเอง จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย เมื่อทำความเข้าใจและเขียนโค๊ดได้ถูกต้องแม่นยำ ค่อยหาเครื่องมือมาช่วยอำนวยความสะดวกอีกที

  • เครื่องมือเขียนคำสั่ง เราจะใช้ Notepad เป็นหลัก เพราะมีเป็นมาตรฐานอยู่แล้วในวินโดว์ทุกเวอร์ชั่น ท่านที่ใช้ลินุกส์ก็ใช้ Text Editor ในเครื่องได้เช่นกันนะครับ มีพร้อมกันแล้วและฟรี
  • เครื่องมือแสดงผล หรือบราวเซอร์นี่ก็มีพร้อมแล้วในวินโดว์ก็เป็น Internet Explorer หรือจะหันไปคบกับ Firefox หรือ Google Chrome เหมือนกับที่มีในลินุกส์ก็ย่อมได้ ฟรีอีกเหมือนกัน

ytTAGS : คำสั่ง หรือรูปแบบของคำสั่ง

คำสั่งพื้นฐานของภาษา HTML นั้นเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยเครื่องหมายน้อยกว่าและมากกว่า ครอบคำสั่งที่ต้องการดังนี้ <คำสั่ง> คำสั่งส่วนใหญ่จะมีเป็นคู่ๆ เช่น <html> ... </html> เรียกว่าคำสั่งเปิดและคำสั่งปิด ต่างกันที่คำสั่งปิดจะมีเครื่องหมายสแลชนำหน้าคำสั่งเสมอ แต่จะมีบางคำสั่งที่เป็นคำสั่งเดี่ยวไม่มีคำสั่งปิด (เราจะได้ศึกษากันต่อไป)

ปัจจุบันนี้มีการใช้มาตรฐาน HTML5 มาแทนที่มาตรฐาน HTML4 เดิม ที่มีคำสั่งที่สั้นและง่ายกว่าเดิม เราจะทราบได้อย่างไรว่า ไฟล์ไหนเขียนขึ้นตามมาตรฐานของ html4 หรือ html5 ไม่ยากครับ ดูที่หัวไฟล์ ก่อนคำสั่งประกาศ <html> ถ้าใช้เครื่องมือสำเร็จรูปใหม่ๆ จะเห็นระบุไว้ดังนี้

HTML4 :

<?xml version="1.0" encoding="UTF-8"?>
          <html xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml">

HTML5 :

<!doctype html>
          <html>

<html>
      <head>
          <title>
              ข้อความที่ต้องการแสดงบนไตเติ้ลบาร์
          </title>
      </head>
      <body>
            ข้อความที่แสดงในส่วนเนื้อหา
      </body>
</html>
  • ส่วนประกาศ html เป็นส่วนที่กำกับหัวและท้ายไฟล์ ด้วยคำสั่ง <html> ... </html> เพื่อให้บราวเซอร์ทราบ และแปรผลได้ถูกต้อง ส่วนนี้ไม่มีเทคนิคพิเศษอะไรเพิ่มเติมอีก
  • ส่วนหัวเรื่อง head เป็นส่วนประกาศรายละเอียดของหน้าเว็บเพจ ที่สำคัญมาก ในการที่จะทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ และใส่เทคนิคพิเศษ ให้กับเว็บเพจได้ในส่วนนี้ แต่ดูเหมือนเว็บมาสเตอร์มือใหม่จะละเลยกันไปมากที่สุด
  • ส่วนเนื้อหา body เป็นส่วนที่มีรายละเอียดมากที่สุด และเป็นส่วนที่จะสร้างความประทับใจ ให้กับผู้ชมได้มาก จะเป็นจุดขาย หรือหน้าตาอันเป็นเอกลักษณ์ ของผู้สร้างเว็บไซต์ จะประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ

การเขียนไฟล์เว็บเพจตามตัวอย่างนี้ต้องใช้โปรแกรม TextEditor ที่มีภายในเครื่องแล้วคือ Notepad ซึ่งจะมีเทคนิคพิเศษในการใช้งานเพิ่มเติม [ คลิกอ่านที่นี่ ]

ytHEAD : รายละเอียดคำสั่งในส่วนหัว

คำสั่งที่อยู่ในส่วนหัวนี้ จะอยู่ระหว่างคำสั่ง <head> ... </head> เราสามารถมองเห็นผ่านบราวเซอร์ได้ เฉพาะข้อความบนไตเติ้ลบาร์ คำสั่งอื่นๆ นั้นจะทำงานในส่วนเบื้องหลัง แต่ก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ควรละเลย ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ดังนี้

  1. หัวเรื่องบนไตเติ้ลบาร์ เป็นส่วนสำคัญที่จะบอกรายละเอียดของหน้าเว็บเพจนั้นๆ อยู่ภายในคำสั่ง <title> ... </title> จะต้องกำหนดเสมอ และควรใช้ภาษาอังกฤษนำ สามารถใช้ภาษาไทยเป็นคำตามได้ แต่ต้องไม่ยาวเกิน 64 ตัวอักษร เช่น Make a home with HTML : สร้างเว็บสวยด้วยภาษา HTML (การนับตัวอักษรในคำภาษาไทยต้องนับสระบน/ล่าง/วรรณยุกต์ด้วย)
         ชื่อเรียกเว็บไซต์ที่ปรากฏบนไตเติ้ลบาร์ นอกจากจะนำมาใช้แสดงชื่อเรื่องของเว็บไซต์นั้นๆ แล้ว ยังเป็นข้อความที่จะถูกนำมาใช้เป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูลจาก Search Engine เสมอ
     
  2. การระบุอักขระภาษา เป็นส่วนสำคัญ และจำเป็นสำหรับเว็บเพจภาษาไทย ทำให้ผู้ชมสามารถอ่านข้อความบนเว็บเพจเป็นภาษาไทยได้ทันที โดยเฉพาะการสร้างเว็บจากเครื่องมือสำเร็จรูปหลายๆ โปรแกรม ที่มักจะทำการกำหนดให้เว็บเป็นภาษาของผู้พัฒนาโปรแกรม (อาจเป็นภาษาในยุโรป/อเมริกา/หรือภาษาอื่นๆ) ทำให้ผู้ชมไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ดังนั้น ผู้สร้างเว็บจะต้องทำการกำหนดค่าการถอดรหัสภาษาไทยไว้เลยในทุกๆ ไฟล์ โดยใช้คำสั่ง Meta ระบุไว้ที่ส่วน Head เช่นเดียวกันกับไตเติ้ล ดังนี้
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=TIS-620"> หรือ
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=Windows-874">หรือ
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=utf-8">
                ให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เว็บเพจที่สร้างขึ้นก็จะสามารถแสดงผลภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันนิยมใช้แบบที่ 3 เพื่อสนับสนุนระบบการแสดงผลหลายภาษา Unicode font

    การกำหนดอักขระภาษาผิด
    การกำหนดอักขระภาษาไทยไม่ได้มาตรฐาน ก็เลยอ่านไม่ออก

                ปัจจุบันเมื่อพัฒนามาตรฐานมาเป็น HTML5 ก็ใช้คำสั่งที่ง่ายและสั้นขึ้น (แต่ต้องเป็นบราวเซอร์รุ่นใหม่ๆ ที่พัฒามารองรับ HTML5 แล้วด้วย
    <meta charset="utf-8">
     
  3. ประกาศให้โลกรู้ ถึงแม้ว่าระบบการค้นหาของ Search Engine จะนำชื่อเรื่องของเว็บไซต์ไปเป็นคำหลักโดยอัตโนมัติแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะด้วยข้อจำกัดของจำนวนตัวอักษร และคำที่ใส่ลงไป ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดคำหลักให้กับหน้าเว็บเพจนั้นๆ โดยใช้คำสั่งที่มีรูปแบบเฉพาะไว้ในส่วน Head ถัดจาก Title เรียกว่าการใช้คำสั่ง Meta (ซึ่งจะไม่แสดงผลในหน้าต่างบราวเซอร์) ดังนี้
    <Meta name="X" content="Y"> (x และ y จะถูกแทนค่าด้วยข้อความ)
    • ถ้า X แทนค่าด้วยคำว่า Keyword ในส่วน Y จะแทนค่าด้วยคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์นั้น คำหลักควรเป็นภาษาอังกฤษ (ใช้ภาษาไทยได้) สามารถกำหนดได้มากกว่า 1 คำ แต่ละคำจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เราอาจใช้คำที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เรา และมีการค้นหาบ่อยๆ ใส่เข้าไปด้วย เช่น ชื่อสถานที่ แหล่งท่องเที่ยว ประเพณีที่สำคัญ เมื่อมีการค้นหาด้วยคำพวกนี้เว็บไซต์ของเราจะไปปรากฏด้วย อีก 1 รายการ (แต่ควรระวังด้วยว่า ในเว็บไซต์เราต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับคำนั้นด้วยจริงๆ) ตัวอย่าง
      <Meta name="keyword" content="html, web, page, website, home, เว็บไซต์, โฮมเพจ.">
    • ถ้า X แทนค่าด้วยคำว่า Description ในส่วน Y จะแทนค่าด้วยคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์นั้น ควรเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย เขียนในรูปประโยคบอกเล่าสื่อความหมายถึงเนื้อหาในเว็บนั้นๆ เช่น
      <Meta name="Description" content="HTML is a wonderful language for internet communication. ภาษา html เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์เพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.">
    • ถ้า X แทนค่าด้วยคำว่า Author ในส่วน Y จะแทนค่าด้วยชื่อของเจ้าของเว็บไซต์ หรือหน่วยงาน อาจระบุชื่ออีเมล์ไว้เพื่อให้สะดวกในการติดต่อกับผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น
      <Meta name="Author" content="Montree Kotkanta - krumontree @ gmail.com">
     
  4. เทคนิคพิเศษ เราสามารถใส่เทคนิคพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ เช่น สคริปต์พิเศษแสดงวันเวลา การแสดงผลพิเศษ (เราจะได้ศึกษาเพิ่มเติมในบทต่อๆ ไป)

นี่คือตัวอย่างของการแทรกคำสั่งต่างๆ ในส่วน head คุณสามารถเอาไปประยุกต์แก้ไขให้เหมาะสมกับหน้าเว็บของคุณได้เลย

<!doctype html>
<html>
<head>
    <title> Make a home with HTML : สร้างเว็บสวยด้วยภาษา HTML</title>
    <meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=UTF-8">
    <meta name="keyword" content="html, web, page, website, home, เว็บไซต์, โฮมเพจ.">
    <meta name="description" content="HTML is a wonderful language for internet
        communication. ภาษา html เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บไซต์เพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.
">

    <meta name="author" content="Montree Kotkanta - krumontree@gmail.com">
    <link href="htmlstyle.css" rel="stylesheet" type="text/css">
</head>
......

ytEND : สรุปคำสั่งที่ใช้ในตอนนี้
TAGS รายละเอียด
<html> ... </html> กำหนดชนิดของไฟล์ให้ html
<head> ... </head> กำหนดส่วนหัวของไฟล์ เพื่อจัดเก็บรายละเอียดและชื่อไฟล์
<title> ... </title> การกำหนดชื่อไฟล์เพื่อแสดงผลบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์
<meta> การกำหนดรายละเอียดของเว็บไซต์เกี่ยวกับการแสดงผลภาษาและคำอธิบายรายละเอียด คำค้นหาของเว็บไซต์

 

Your visitor no.
Create & Design Web Page with Basic HTML & Tools
Author : KruMontree Kotkanta     e-M@il : webmaster at krumontree.com