กฎชั้นสูงของ CSS กฎชั้นสูงไม่ได้หมายความว่า มันจะใช้ยากหรือพิศดารอลังการแต่อย่างใด ตรงข้ามครับ มันกลับเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การใช้ CSS สะดวกขึ้น สบายขึ้น ง่ายขึ้นต่างหาก
Grouping : รวมกันไว้ใช้สบาย
กฎ Grouping ช่วยให้เราสามารถกำหนด Style Sheet ของหลายๆ Class หลายๆ ID และหลายๆ Tag ที่มีส่วน เหมือนกันในครั้งเดียว โดยใช้เครื่องหมายคอมม่า (,) คั่นระหว่าง Class หรือ ID หรือ Tag แต่ละตัวเท่านั้นเอง นอกจากนี้ ถ้ามีบางส่วนที่ไม่เหมือนกัน ยังสามารถกำหนดเพิ่มลงไปด้วยวิธีปกติได้อีกด้วย
H1,H2,H3 { text-decoration: underline;
font-family:Comic Sans Ms,Cursive;
}
H1 {color:Blue}
H2 {color:Red}
H3 {color:Green}
ที่ระบายเป็นสีแดงไว้คือ ส่วนที่เหมือนกันของคำสั่ง H1, H2, H3 ส่วนด้านล่างเป็นส่วนแตกต่างของคำสั่งทั้งสาม มีสีต่างกัน ลองเอาไปใช้กันดู
Contextual Selection :
กฎ Contextual Selection ช่วยให้เราสามารถกำหนด Style ของ Tag ที่ซ้อนอยู่ใน Tag ได้ โดยในการเขียน Style Sheet เราจะใช้ช่องว่าง " " คั่นระหว่าง Tag ทั้ง 2 เช่น ถ้าเราต้องการกำหนดให้ ... ที่อยู่ใน ... มีสีแดง ก็สามารถทำได้ดังตัวอย่าง
Inheritance : สืบทอดชั่วลูกชั่วหลาน
Inheritance หมายถึงการสืบทอดคุณสมบัติ นั่นก็คือ คุณสมบัติต่างๆ เช่น Font, สี, ขนาดของส่วนที่อยู่ใน Tag จะถูกสืบทอดมาจากส่วนที่ครอบมันอยู่ และคุณสมบัติเหล่านั้นจะถูกรวมเข้ากับคุณสมบัติของตัวเอง แล้วสืบทอดต่อไป ยังส่วนที่มันครอบอยู่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สมมุติว่าผมมี Code ดังนี้
<P>Nicole
<U>Marsha<i>Beau</i>Tong<U>
Nadia</P>
Nicole และ Nadia จะมีเพียงคุณสมบัติของ <P> แต่ Marsha และ Tong จะได้รับคุณสมบัติที่สืบทอดมาจาก <P> รวมกับคุณสมบัติของ <U> และคุณสมบัติทั้งหมดจะถูกถ่ายทอดไปยัง Beau ทำให้ Beau มีทั้งคุณสมบัติของ <P>, <U>, <i>
กฎข้อนี้ถูกใช้เป็นปกติอยู่แล้วครับ แม้ในการเขียน HTML ธรรมดาก็เป็นเช่นนี้ แบบนี้เข้าทำนองรู้ไว้ใช่ว่าครับ