Being Human for Human being.. ทักษะเพื่อชีวิต.. “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้” คือเป้าหมายที่ต้องการ
“ทักษะชีวิต Life Skill” เพื่อ “ชีวิต” ที่ผาสุกและปลอดภัยในโลกนี้ ตีค่าออกมาเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษา เป็นสูตรว่า “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ...Critical Thinking, How to do, Skill, and Experience ขยายความได้ดังนี้....
ข้อ 1. “คิดเป็น”
คำว่า “คิดเป็น” นั้น เจาะจงเอาความหมายที่เป็น “ความคิดวิเคราะห์ หรือ Critical Thinking” และ “ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking” ซึ่งในบทความชิ้นนี้ ขอเรียนถึงเรื่องที่มาของ “ความคิด Thinking” ว่า สิ่งแวดล้อมสอนให้คนเกิดความรู้ Knowledge ซึ่งพัฒนาเป็นความ “เข้าใจ หรือ Understand” และความเข้าใจนี้จะพัฒนาไปเป็น “ปัญญา หรือ Wisdom” เพื่อให้สามารถใช้ “ปัญญา” นี้ดำเนินชีวิตของตนอย่าง “อารยะชน Civilized People”
เมื่อคนเรามีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ อย่างดีที่สุดแล้ว “ความคิด” อันเป็นคุณสมบัติของความเข้าใจ ก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ.. และหากเกิดความเข้าใจลึกซึ้งเท่าใด “ความคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์” ก็จะแหลมคมมากขึ้นเท่านั้น.. นี้เรียกว่า “ทักษะชีวิต Life Skill” หรือ “ความเป็นคน หรือ Humanity” นั่นเอง
ในเรื่อง “ทักษะชีวิต Life Skill” หรือ “ความเป็นคน หรือ Humanity” นี้เราต้องการความเข้าใจมากกว่าเข้าใจธรรมดา คือต้องรู้ว่า เมื่อเรา “ทำการใดๆ ลงไปแล้ว” การกระทำนั้นๆ จะเป็น “เหตุ Cause” นำไปสู่ “ผล หรือ Effect” อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ในทางพุทธศาสนา เรียกว่า “สาตถกสัมปชัญญะ หรือ Cause and Effect”...
ดังนั้น “ผู้เรียน หรือ Learners” ต้องเรียนให้รู้ชัดว่ารู้ชัดว่า สิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปนั้นมีประโยชน์ หรือ หรือไม่มีประโยชน์.. ทำเพื่อจุดหมายใด เป็นบุญ หรือ เป็นบาป.. มีสติยั้งคิดก่อนที่จะทำสิ่งใดๆ ลงไป... ความหมายของ ความเป็นคน หรือ Humanity อยู่ตรงนี้... และคุณครูผู้ห่วงใยศิษย์ของตน สามารถ “ฝึกฝนความคิดเป็น” นี้ โดยนำเรื่องราวเนื้อหาจากข่าวสื่อมวลชน มาให้นักเรียน “วิเคราะห์หาสาเหตุ” ที่เกิดขึ้นนี้ว่า.. จะมีสาเหตุมาจากทางใดได้บ้าง และแน่นอนที่สุดว่า “อุบัติการณ์ Incident” ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ ย่อมมาจากสาเหตุมากมายหลายสิบเหตุ...
ซึ่งผู้เรียนสามารถหาสาเหตุที่มา โดยใช้หลักการเรียนแบบสืบสวนสอบสวน หรือ Inquiry method จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งจากสถานที่ ผู้คน หรือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารไร้พรมแดนต่างๆ การเรียนรู้โดยวิธี “ทำงานร่วมกัน Collaborative” และ “การระดมความคิด Brainstorming” โดยมีครูอาจารย์ร่วมด้วย ได้ผลดีกว่าการปล่อยให้นักเรียนทำงานโดยปราศจากการร่วมด้วยช่วยกัน ของเพื่อนและตุณครู
ยิ่งสังคมเมืองมีปัญหาซับซ้อน และผู้คนต่างดิ้นรน เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมากเท่าไร ผู้ที่สามารถเอาตัวรอดในสังคมได้จะต้อง “ฉลาดรอบรู้ Intelligence” มากเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาจะต้อง “สอนคน” เพื่อให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า ในเรื่องการเรียนการสอน “ทักษะชีวิต Life Skill” นี้ จะต้องสอนกันตั้งแต่เป็นทารกถึงวัยเข้าเรียนอนุบาล ครอบครัว และโรงเรียนก็ต้องสอน โตขึ้นก็ต้องสอน เป็น Child Centered และแม้เป็นนักศึกษาแล้ว ก็ต้องสอนเป็นแบบ Student Centered เพื่อให้เขาสามารถ “เรียนรู้ตลอดชีวิต”...
ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ในบทความนี้ได้ใช้ คำว่า “ทักษะชีวิต Life Skill” คำว่า “ความเป็นคน หรือ Humanity” ในความหมายเดียวกัน เพราะเป็นความจงใจที่จะชี้ให้เห็นว่า มันเป็นสิ่งเดียวกัน.... และความยุ่งยากของวันนี้ก็คือ แนวโน้มที่ว่า “พ่อแม่สอนสอนลูกไม่ได้... ครูสอนศิษย์ไม่ได้..และคนไม่ยอมรับกฎเกณฑ์หรือระเบียบอันดีงามของสังคม” ดังนั้น การเรียนการสอนในวันนี้ จึงต้องใช้ความอุตสาหะพยายาม “สอนใจผู้เรียนให้ได้ก่อน แล้วจึงไปสอนหนังสือและวิชาการทั้งมวล Adhear to the principle that “ Teach the learner to be humanity first. Then academic”.... เมื่อได้ใจผู้เรียนแล้ว.. ครูจะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น.....
ข้อ 2. “เรื่อง ทำเป็น หรือ How to do..หรือ Skill”
นานมาแล้ว เมื่อผมริอ่านจะเป็น “ศิลปินวาดภาพ” และไปดำเนินการจัดตั้ง “มูลนิธินวลจันทร์ เพื่อสอนงานศิลปะเยาวชน” ครูบาอาจารย์ทางศิลปะสอนผมว่า “ผู้สร้างงานศิลปะ จะต้องมีความรู้ บวกความชำนาญ คือ Knowledge + Skill” ความรู้ Knowledge หาได้จาก การฟังคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ อ่านหนังสือ เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และสื่อสารต่างๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียง “ความรู้ในหัวสมองเท่านั้น” บางคนใช้หาประโยชน์จากความรู้ที่มีอยู่นั้นไม่ได้เลย สมคำกล่าว “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”
และเพื่อให้ “คน” อยู่ได้ด้วยดีในสังคม คนผู้นั้นจะต้องมี “ความชำนาญ หรือ ทักษะ หรือ Skill” จึงจะสามารถหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ความชำนาญ หรือ ทักษะ หรือ Skill นี้ ไม่สามารถอ่านเอาจากหนังสือ หรือฟังคำสอนใดๆ จากใครได้ นอกจาก “การฝึกฝนด้วยตนเอง” เท่านั้น ฝึกจนชำนาญ ฝึกจนเคยชินเป็น นิสัย Habit และกลายเป็น คุณสมบัติ Characteristic ของคนผู้นั้นไป
จะเห็นได้ว่า ความรู้กับความชำนาญนั้น แม้จะเกิดขึ้นในตัวของคนๆ เดียวกัน แต่ก็ “ไม่ใช่อย่างเดียวกัน”... เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน ขอยกตัวอย่าง เปรียบเทียบว่า... "เราไม่สามารถว่ายน้ำได้เพียงแค่อ่านจากตำรา โดยไม่ยอมลงน้ำ.. และฝึกๆๆๆ จนเกิดความชำนาญในน้ำ”
ข้อ 3. “ความสามารถในการแก้ปัญหา หรือ Experience”
ความสามารถในการแก้ปัญหานั้น เป็นผลมาจาก “ความรู้ในระดับความเข้าใจและความชำนาญ”... คำว่า “แก้ปัญหาได้” นั้น ย่อมหมายความว่าคนผู้นั้นมีความสามารถ หรือ Talented ซึ่งเกิดจากการฝึกฝนมา “มากพอ” ที่จะแก้ปัญหาที่ตนประสบพบพานนั้นได้ ความยุ่งยากที่เข้ามาในชีวิตนี้ เรียกว่า “ประสบการณ์ Experience” การต่อสู้กับปัญหาของคนเราจะชนะหรือแพ้ อยู่ที่คุณภาพของ “การฝึกฝน Practice” มาจากเรื่องที่ 1. และ เรื่องที่ 2.นี้เอง....
ในการเรียนแบบ Child Centered นั้น คุณครูสามารถ “ออกแบบการสอน และออกแบบการเรียน” ได้ทุกเนื้อหาวิชา เพียงแต่ยึดหลักการ "เรื่อง “Begin at the End” คือ ต้องตั้งเป้าหมายที่ต้องการไว้ก่อน แล้วบากบั่นมุ่งไปให้ถึง” หากเนื้อหา เรื่องใด วิชาใดยังเป็น “นามธรรม” ก็ให้แปลงเรื่องนั้นๆ เป็น “รูปธรรม” ก่อน แล้วจึงนำมาออกแบบเป็น “กิจกรรม” การเรียนการสอน เมื่อทุกอย่างทำไปด้วยความมุ่งมั่นและรอบคอบแล้ว ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมครับ...
หวังว่าบทความชิ้นนี้ ยังคงมีประโยชน์สำหรับคุณครูผู้นำไปปรับใช้อยู่บ้างนะครับ... ผมขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ติดตามครับ.....
สุทัศน์ เอกา.... บอกความ
เพื่อเสริมบทความของ ท่านสุทัศน์ เอกา ข้างต้น ผมขอยกเอาสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ (อดีต อธิบดีกรมสามัญศึกษา / ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น "กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา
“การศึกษา คือ กระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”
แนวคิด"คิดเป็น" ของ ดร. โกวิท วรพิพัฒน์
ดร.โกวิท วรพิพัฒน์และคณะ ได้ประยุกต์แนวความคิดในเรื่อง “คิดเป็น” และนำมาเป็นเป้าหมายสำคัญในการให้บริการการศึกษาผู้ใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา โดยมีหลักการที่เป็นหัวใจสำคัญดังนี้ การวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาคำตอบ หรือทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา คิดอย่างรอบคอบโดยอาศัยข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคม สิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวิชาการประกอบการตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือหาทางเลือกเพื่อนำไปปฏิบัติ รู้จักคิดเพื่อแก้ปัญหา ด้วยการกระทำการอย่างเหมาะสมและพอดี
จากหลักการดังที่กล่าวมา พอจะสรูปความหมายของคำว่า คิดเป็น ดังนี้
"คิดเป็น" หมายถึง กระบวนการที่คนเรานำมาใช้ในการตัดสินใจ โดยต้องแสวงหาข้อมูลของตนเอง ข้อมูลของสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคม และข้อมูลทางหลักวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์หาทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสม มีความพอดีระหว่างตนเองและสังคม
เมื่อครั้ง ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ปฏิบัติงานในตำแหน่ง หัวหน้ากองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา (ระหว่างปี พ.ศ.2511-2518) ท่านได้ริเริ่มโครงการการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (Functional Literacy) แบบไทย มุ่งให้ผู้เข้ารับการศึกษาระดับชาวบ้าน ได้รู้จักคิดแก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องกับสภาพสถานะของตน และของกลุ่มที่เรียกว่า "คิดเป็น" โดยมีหลักการว่า เรียนแล้วสามารถนำข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลข้อจำกัดส่วนตัวของแต่ละบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับสังคม มาประมวลแล้วคิดหาคำตอบให้กับปัญหาของแต่ละคน หรือสังคม ซึ่งจะได้คำตอบที่หลากหลาย และตรงกับสภาพของแต่ละบุคคลหรือสังคม ไม่ใช่ว่าหนังสือบอกไว้อย่างไรแล้ว ต้องทำตามเหมือนกันหมด คิดเองไม่เป็น แต่ถ้าคิดเป็นแล้วคำถาม หรือปัญหาเดียวกันอาจได้คำตอบไม่เหมือนกันก็เป็นได้
ศาสตราจารย์ อุ่นตา นพคุณ ได้สรุปความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับ การคิดเป็น มี 4 ประการ ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจกระบวนการคิดเป็นได้อย่างชัดเจน คือ
คิดเป็น จึงเป็นกระบวนการที่จะทำให้มนุษย์กำหนดปรัชญา ในการดำรงชีวิตของตนเองในแต่ละด้านว่า ตนเองเป็นใคร ควรทำอะไร ทำทำไม ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร ซึ่งทั้งหมดต้องเป็นสิ่งที่ตนเองต้องการ และนำกระบวนการคิดเป็นนั้นไปสู่ปรัชญาที่กำหนดให้สำเร็จ และในที่สุดก็จะสามารถนำพาชีวิตไปถึงเป้าหมายสูงสุด คือ ความสุข ซึ่งเป็นปรัชญาชั้นสูงสุดในการดำรงชีวิตมนุษย์ที่จะทำให้สามารถดำรงชีวิต อย่างมีคุณภาพได้
ความเชื้อพื้นฐานเกี่ยวกับ "การคิดเป็น"
กล่าวโดยสรุป ความเชื่อพื้นฐานของการ "คิดเป็น" มาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่า สิ่งที่เป็นยอดปรารถนา คือ ความสุข และมนุษย์เราจะมีความสุขที่สุดเมื่อตนเอง และสังคม สิ่งแวดล้อม กลมกลืนกันอย่างราบรื่น ทั้งด้านวัตถุ กาย และใจ การที่มนุษย์เรากระทำได้ยากนั้น แต่อาจทำให้ตนเอง และสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันได้เท่าที่แต่ละคน หรือกลุ่มคนจะสามารถทำได้ โดยกระทำดังต่อไปนี้
บุคคลที่จะสามารถดำเนินการข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อ เพื่อตนเองและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกัน เพื่อตนเองจะได้มีความสุขนั้น บุคคลผู้นั้นต้อง "คิดเป็น" เพราะการคิดเป็นการทำให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาได้ บุคคลที่มีแต่ความจำ ย่อมไม่สามารถดำเนินการตามข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อได้ คนที่ทำเช่นนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถคิดแก้ปัญหา สามารถรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ และรู้จักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะสามารถช่วยพัฒนาการคิดเป็นให้เกิดขึ้นได้ โดยครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และเกิดกระบวนการคิด โดยการคิดนั้นควรส่งเสริมการใช้เหตุผล หลักคุณธรรมเป็นสำคัญ เพื่อให้รู้ว่าเขาเป็นใคร ทำอะไร จะทำอย่างไร ทำเพื่ออะไร จะได้ผลอย่างไร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครูสามารถนำกระบวนการ "คิดเป็น" ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่มีการรวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ ให้ครบก่อนการตัดสินใจ จึงน่าจะเป็นกระบวนการคิดที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในยุคข่าวสารข้อมูลได้ เป็นอย่างดี
ผลสำเร็จของโครงการ "คิดเป็น" ทำให้ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ได้รับเชิญจากองค์การยูเนสโกให้ไปเสนอผลงานดังกล่าว ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ อย่างมาก จนองค์การยูเนสโกนำเรื่องนี้ ไปเผยแพร่ทั่วโลก ทำให้ ดร.โกวิทได้รับฉายาจากต่างประเทศว่า "นายคิดเป็น" (Mr.Khit Pen)
สนใจอยากอ่านเพิ่มเติมเชิญที่นี่ : http://mediathailand.blogspot.com/
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่ใช้คุกกี้ (Cookies) เก็บข้อมูล เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)