SIA_SQ321

5 สิ่งที่ควรรู้เมื่อเกิดการตกหลุมอากาศขณะโดยสารเครื่องบิน

เที่ยวบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ SQ321 เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งประสบกับสภาพอากาศปั่นป่วนรุนแรงอย่างไม่คาดคิด เหนือน่านฟ้าเมียนมาร์ ต้องมาลงฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิของประเทศไทยเรา มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 รายบนเครื่อง (ด้วยอาการหัวใจวาย) และอีกหลายสิบคนได้รับบาดเจ็บจากความปั่นป่วนของอากาศ ถูกนำส่งไปรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ด้วยการจัดการอย่างมืออาชีพของทีมปฏิบัติการกู้ภัยฉุกเฉินของไทย ที่ได้รับการชื่นชมจากนานาอารยะประเทศ ซึ่งประเภทของสภาพอากาศแปรปรวน ที่สร้างความยุ่งยากในการรับมือกับสถานการณ์นี้ เรียกว่า Clear air turbulence (CAT) ซึ่งยากต่อการคาดเดา ความปั่นป่วนทางอากาศเป็นข้อเท็จจริงของการบิน และเป็นหายนะของผู้ที่เป็นโรคกลัวการบิน กลัวที่สูง แต่อากาศปั่นป่วนเช่นนี้มีอันตรายแค่ไหน อะไรเป็นสาเหตุ และควรรู้หรือทำอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?

1. อากาศปั่นป่วนเป็นอันตรายหรือไม่?

เหตุอากาศปั่นป่วนในสายการบินของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสประมาณ 12 คนต่อปี แม้ว่าการออกแบบเครื่องบินจะออกแบบมาเพื่อทนต่อสภาพอากาศปั่นป่วนที่เลวร้ายที่สุดแล้วก็ตาม

ในภาพยนตร์ไซไฟปี 2004 เรื่อง Day After Tomorow ตัวละคร Brian Parks กล่าวขณะบินท่ามกลางความปั่นป่วนว่า “คุณรู้ไหมว่าโอกาสที่เครื่องบินจะตกลงมาจากอากาศปั่นป่วนนั้นมีเพียงหนึ่งในล้าน หรือจะเป็นพันล้าน” เป็นความจริงที่ว่า ความปั่นป่วนไม่น่าจะทำลายเครื่องบินลงได้ เนื่องจาก เครื่องบินได้รับการออกแบบมาให้รับมือสภาพอากาศเลวร้ายที่สุด (แม้ว่ามันจะไม่ดีเลยสำหรับเครื่องบินก็ตาม)

สิ่งที่ Brain Parks ไม่ได้กล่าวถึงก็คือ อันตรายจากสภาพอากาศปั่นป่วน ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการตกของเครื่องบิน แต่เป็นผู้โดยสารต่างหากที่ถูกโยนขึ้นลง กระเด็น กระดอน ในห้องโดยสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้โดยสารที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย (เหมือนในเที่ยวบินของ Singapore Airlines SQ321) ตามรายงานของ BBC ระหว่างปี 2009 ถึง 2022 คณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่ามี “การบาดเจ็บสาหัสจากสภาพอากาศแปรปรวน” 163 ครั้งในสายการบินในสหรัฐฯ

2. ความปั่นป่วนของอากาศคืออะไร

ความปั่นป่วนในอากาศ คือ การรบกวนในอากาศที่มักเกิดจากภูเขา กระแสลมหมุนวน (เจ็ตสตรีม) และพายุ สามารถพยากรณ์ได้ด้วยการติดตามสภาพอากาศ แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า

“สภาพอากาศแปรปรวน หรือ หลุมอากาศ” ถือเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยในที่ทำงานที่ร้ายแรงที่สุด สำหรับนักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ตามรายงานของ National Geographic ความปั่นป่วนของอากาศคือ “กระแสอากาศที่วุ่นวายและไม่แน่นอน ซึ่งถูกรบกวนจากสภาวะที่สงบขึ้นด้วยสภาวะต่างๆ” มันไม่สามารถมองเห็นได้และแทบจะตรวจไม่พบด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน วินาทีหนึ่ง คุณอาจกำลังนั่งในเครื่องบินได้อย่างราบรื่น แต่วินาทีต่อมา ผู้โดยสาร ลูกเรือ รถเข็นอาหาร หรือสิ่งของอื่นๆ จะถูกโยนไปรอบๆ ห้องโดยสารก็ได้

3. ความปั่นป่วนหกประเภท

เที่ยวบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ SQ321 ประสบกับสภาพความปั่นป่วนและวุ่นวายในขั้น “รุนแรง” – เลวร้ายเป็นอันดับสอง ซึ่งสภาวะเลวร้ายนี้แยกเป็น 6 ระดับ คือ

  1. light chop (เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย)
  2. light turbulence (ปั่นป่วนเล็กน้อย)
  3. moderate chop (เปลี่ยนแปลงปานกลาง)
  4. moderate turbulence (ปั่นป่วนปานกลาง)
  5. severe (ปั่นป่วนรุนแรง)
  6. extreme (ปั่นป่วนรุนแรงสุดขีด)

ความปั่นป่วนสามประเภทแรกนั้น เบาเกินไปที่จะทำให้เกิดการรบกวนต่อเครื่องบินหรือผู้โดยสาร ในขณะที่ความปั่นป่วนในระดับปานกลางขึ้นไป จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความสูง และทำให้เครื่องบินสั่นสะเทือน ผู้โดยสารรู้สึกตึงเครียด หวาดกลัวกับเหตุการณ์ และจำเป็นต้องรัดเข็มขัดนิรภัย

ความปั่นป่วนขั้นรุนแรงและรุนแรงสุดขีดนั้นหาได้ยาก เที่ยวบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ SQ321 เผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนขั้นรุนแรงระดับ 5 severe (ปั่นป่วนรุนแรง) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระดับความสูง และเครื่องบินร่วงลงจากระดับเพดานบินอย่างกะทันหันกว่า 7,000 ฟุตในเวลาเพียงหนึ่งนาทีครึ่ง สุดวิสัยที่นักบินจะสามารถควบคุมเครื่องบินได้ชั่วขณะ ในขณะที่ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงอย่างรุนแรงจนลอยขึ้นไปกระทบกับเพดาน เกิดอาการบาดเจ็บและตัวเครื่องบินภายในได้รับความเสียหาย

4. การรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้

การจองตั๋วเดินทางโดยการเลือกที่นั่งด้านหน้าและตรงกลางเครื่องบิน และการคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาเป็นสองสิ่งที่ช่วยให้ปลอดภัยจากการตกหลุมอากาศได้มาก (สภาพอากาศแปรปรวนจะแย่กว่านั้นที่ด้านหลังของเครื่องบิน) ศูนย์กลางของเครื่องบิน คือ จุดที่จุดศูนย์ถ่วงของเครื่องบินอยู่และตำแหน่งที่การเคลื่อนไหวจะเด่นชัดน้อยที่สุด ส่วนเข็มขัดนิรภัยจะช่วยรั้งตัวผู้โดยสารไม่ให้กระเด็นหลุดจากเก้าอี้ลอยไปกระทบเพดานจนบาดเจ็บ

5. เครื่องบินขนาดใหญ่จะดีกว่า

การโดยสารเครื่องบินขนาดเล็ก เช่น เครื่องบินไอพ่นสำหรับธุรกิจ มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับสภาพอากาศปั่นป่วนที่เลวร้ายยิ่งกว่าเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่

Boeing 737 and 777

เครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์ที่เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นแบบ Boeing 777-300ER เกิดความปั่นป่วนในเวลาเพียงหนึ่งนาทีครึ่งก็ยังเสียหายขนาดนี้ ยิ่งเครื่องบินมีขนาดใหญ่อย่าง Airbus A380 ความปั่นป่วนก็จะน้อยลง

ซึ่งหมายความว่า เครื่องบินขนาดเล็ก เช่น Cessna 172 จะต้องเผชิญกับความปั่นป่วนทางอากาศมากกว่าเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ ดังที่กล่าวไปแล้ว ความปั่นป่วนส่งผลกระทบต่อเครื่องบินทุกลำ โดยไม่คำนึงถึงขนาด เที่ยวบินของสิงคโปร์ แอร์ไลน์ คือเครื่องบิน Boeing 777-300ER ซึ่งเป็นเครื่องบินลำตัวกว้างขนาดใหญ่ (คงจะแย่กว่านั้นหากเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก เช่น Boeing 737 หรือ Airbus A320) นี่เป็นเรื่องทางกายภาพล้วนๆ

สามารถเปรียบเทียบกับเรือได้ เรือแคนู หรือ เรือลำเล็ก จะถูกคลื่นและทะเลที่มีคลื่นซัดสาดไปมามากกว่า เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่บางครั้งอาจแล่นฝ่าคลื่นได้โดยไม่ถูกรบกวนเป็นพิเศษ

เส้นทางการบินใดปั่นป่วนมากที่สุด ?

ข้อมูลจาก Turbli ระบุว่า เส้นทางที่มีสภาพอากาศแปรปรวนเฉลี่ยมากที่สุดของโลกในปี 2566 คือเส้นทางระหว่างซานติอาโก ชิลี และซานตาครูซ เด ลา เซียร์รา ประเทศโบลิเวีย ซึ่งมีระยะทางยาวถึง 1,905 กิโลเมตร อันดับที่ 2 คือ อัลมาตี คาซัคสถาน และ บิชเคก คีร์กีซสถาน และอันดับ 3 คือเส้นทางหลานโจวและเฉิงตูในประเทศจีน

ผู้โดยสารปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเผชิญกับอากาศแปรปรวน ?

องค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FAA) ยังแนะนำให้ ผู้โดยสารให้ความสนใจกับ การสาธิตการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย เมื่อเริ่มต้นเที่ยวบิน และทำความคุ้นเคยกับคู่มือความปลอดภัยที่อยู่ในกระเป๋าหน้าที่นั่งของตน FAA ยังกล่าวเสริมว่า ผู้ที่เดินทางพร้อมเด็กเล็กต้องใช้เก้าอี้สำหรับเด็ก ที่ได้รับอนุมัติหรืออุปกรณ์ที่คล้ายกัน หากเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบต้องมีสายรัดไว้ (Infant seat belt) และทุกคนควรคาดเข็มรัดนิรภัยเสมอแม้นักบินจะไม่ได้แจ้งก็ตามเพื่อความปลอดภัย เว้นแต่ การต้องลุกไปทำธุระในห้องน้ำ

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน FAA ระบุว่าให้ผู้โดยสารทุกคนเชื่อฟังนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และ คาดเข็มขัดที่นั่งไว้ตลอดด้วย

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)