supanahong

Welcome to Thailand.

ความยิ่งใหญ่ของ “ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค (Royal Barge Procession) มีเพียง ๑ เดียวในโลก เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 ได้รับการเผยแพร่ออกไปทั่วโลกผ่านทางสำนักข่าวต่างๆ และเหล่าบรรดาฟลูเอนเซอร์ที่รักเมืองไทย

พระราชประเพณีการจัดกระบวน “พยุหยาตราทางชลมารค” เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้การจัดรูปขบวนเรือในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย เรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา จัดเป็น 5 ริ้ว 3 สาย กำลังฝีพาย 2,200 นาย

ขบวนตั้งต้นออกจากท่าวาสุกรี (ท่าเรือวัดราชาธิวาส) ผ่านสะพานพระรามแปด สะพานพระปิ่นเกล้า มุ่งหน้าไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 4.2 กิโลเมตรตลอดสองฝั่งเจ้าพระยา

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็น เรือพระราชพิธี หนึ่งเดียวในโลก ซึ่งเป็นภาคภูมิใจในความเป็นไทย เรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้ง 52 ลำ ประกอบไปด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

โดยแบ่งออกเป็น 5 ริ้ว คือ ขบวนนอกหน้า ขบวนในหน้า ขบวนเรือพระราชยาน ขบวนในหลัง และขบวนนอกหลัง เต็มไปด้วยความสวยงาม ความโอ่อ่าตระการตา และความมีระเบียบ สมกับเป็นประเพณีอารยธรรมอันสูงส่งของชาติไทยแต่โบราณ

การจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้

  • ริ้วสายกลาง เป็นเรือสายสำคัญประกอบด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอก เรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจ รวมทั้งสิ้น 10 ลำ
  • ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่งมีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่นเป็นเรือประตูหน้าเรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองซึ่งเป็นเรือคู่ชัก รวมทั้งสิ้น 14 ลำ
  • ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้งและเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 28 ลำ

 

 

 

ชมบันทึกภาพประวัติศาสตร์นี้ทางช่อง Youtube

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)