Dubai_airport

จากอ้อมอกพ่อ-แม่สู่แดนไกล

ลังจากได้ข่าวแน่ชัดว่าผ่านการคัดเลือกแล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็จะเป็นการตรวจร่างกายในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ที่ผ่านการรับรองของสายการบิน (ซึ่งบริษัทจะแจ้งเรามาว่า ในประเทศไทยตรวจร่างกายได้ที่โรงพยาบาลใดบ้าง) การส่งผลทางการแพทย์ และรอการยืนยันขั้นตอนสุดท้ายว่า ได้ไปทำงานแน่นอน และจะต้องออกเดินทางเมื่อไหร่ ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง จิปาถะมากมาย ทั้งของผู้หญิงและผู้ชายที่แตกต่างกัน แล้วก็ถึงเวลาของการเดินทางสู่นครดูไบ เพื่อเข้ารับการฝึกฝนเรียนรู้ในอาชีพใหม่ (รอสักหน่อยครับ กำลังเรียบเรียง)

หลังจากได้รับการยืนยันจากทางสายการบินเอมิเรตน์ ได้รับวีซ่า ตั๋วเครื่องบิน
แล้วก็เหินฟ้าเดินทางสู่นครดูไบด้วยสายการบินเอมิเรตส์

ถึงแล้วนครดูไบ มองผ่านหน้าต่างเครื่องเห็นอาคารสนามบินอยู่เบื้องหน้า

เงินสร้างได้ทุกสิ่ง แม้กระทั่งการถมทะเลสร้างเมือง (เกาะปาล์ม)

รู้จักกับอาชีพ (Air) Hostess, Steward

คำว่า (Air) Hostess นั้น ความหมายตามพจนานุกรม คือ เจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิง ส่วน (Air) Steward นั้น หมายถึง ผู้พิทักษ์

แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต จึงหมายถึง ผู้พิทักษ์ความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน โดยมีหน้าที่ต่างๆ เช่น คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน รับผิดชอบครวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องดับเพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ สำหรับสาธิตให้ผู้โดยสาร ฯลฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายการ และอยู่ในสภาพใช้การได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้โดยสาร เช่น การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วย การจัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร ตรวจดูให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง แจกหนังสือพิมพ์ นิตยสารให้ผู้โดยสารอ่าน และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องผู้โดยสารและห้องน้ำ รวมทั้งให้บริการด้านอื่นๆ ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต เป็นอาชีพที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ฉะนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้ ยังควรมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น

  1. มีกิริยามารยาท สุภาพอ่อนโยน อบอุ่น และมีท่วงท่าที่นุ่มนวล
  2. มีบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตรกับผู้อื่น และสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสังคมได้ง่าย เพราะว่าหากไปสมัครงานกับสายการบินต่างประเทศนั้น จะต้องทำงานกับคนอื่นหลายเชื้อชาติ หลายภาษา หลายวัฒนธรรม
  3. มีความอดทนต่อความยากลำบากของงาน อดทนต่อปฏิกิริยาของผู้โดยสาร และมีความอดทนต่อเพื่อนร่วมงานต่างๆ
  4. แต่งตัวดี สะอาด และเรียบร้อย
  5. มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  6. มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ
  7. มีใจรักงานทางด้านบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีความห่วงใยเอาใจใส่อย่างจริงใจที่จะมอบให้แก่ผู้โดยสาร
  8. มีความรู้ภาษาอังกฤษดี และถ้ามีความสามารถในภาษาอื่นๆ ด้วยจะดีมาก
  9. สามารถว่ายน้ำได้โดยไม่มีเครื่องช่วยพยุงเป็นระยะทางอย่างน้อย 50 เมตร
  10. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา

ลักษณะการทำงาน

การทำงานของแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้น เป็นการทำงานในเวลาที่ไม่แน่นอน ไม่เลือกว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเที่ยวบิน หรือสายการบินที่จะเดินทางว่า จะออกกี่โมง ไปยังประเทศใด เมืองใด และในการเดินทางแต่ละครั้งทั้งสจ๊วต และแอร์โฮสเตส จะต้องกำหนดเวลาในการเดินทางไปสนามบินเผื่อไว้ทุกครั้ง โดยจะต้องเดินทางไปให้ถึงสนามบินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อการเตรียมตัวและไม่ตกเครื่องบิน แอร์โฮสเตสและสจ๊วตจึงต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบอยู่สูง

นักศึกษาจากเอแบค

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ ย่อมมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงกว่า และดีกว่า ตั้งแต่เริ่มแรก คือ เมื่อสจ๊วตและแอร์โฮสเตสได้รับการฝึกอบรมครบ 8 สัปดาห์แล้ว (บางสายการบินอาจมากถึง 16 สัปดาห์) ก็จะเริ่มปฏิบัติงานจริง โดยในช่วงเดือนแรกจะเป็นช่วงของ การทดลองงาน (บินในระยะทางสั้นๆ) จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน จากซุปเปอร์ไวเซอร์ หรือ หัวหน้างาน ซึ่งจะประเมินผลในทุกๆ ด้าน เช่น การให้การบริการ การตรงต่อเวลา การร่วมมือประสานงานกัน การแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อารมณ์ และทัศนคติ เป็นต้น เมื่อพ้นช่วงทดลองงานแล้ว จึงจะได้บินในเส้นทางยาวขึ้น ในเที่ยวบินระหว่างประเทศ หรือข้ามทวีป แล้วแต่ว่าสายการบินนั้นจะมีเส้นทางไปที่ใด แต่ก็ยังคงทำงานในชั้นประหยัด (Economy Class) เหมือนเดิม

จนกระทั่งทำงานครบ 1 ปี หรือ 1 ปี 6 เดือน (แล้วแต่สายการบิน) จึงจะมีสิทธิ์สมัครสอบเลื่อนชั้น ขึ้นไปชั้นธุรกิจ (Business Class or Royal Executive Class) ได้ การคัดเลือกครั้งนี้จะพิจารณาจากประวัติการทำงาน (ซึ่งรวมทั้ง Feedback จากผู้โดยสารที่มีต่อพนักงานผ่านทางอีเมล์ หรือฟอรั่มในเว็บไซต์ของสายการบินนั้นๆ) พอพ้นจากชั้นธุรกิจจึงจะมีสิทธิ์สมัครทำงานในชั้นหนึ่ง (Royal First Class) ทุกครั้งที่เลื่อนชั้นการทำงาน ก็จะได้รับการอบรมเพิ่มเติม ทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม การบริการ และการดูแลรักษาความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉินเสมอ รวมทั้งสอบวัดประเมินผลด้วย

ในแต่ละปี ทุกคนจะต้องเข้ารับการสอบประเมิน ทบทวนความรู้ด้านความปลอดภัยต่างๆ การปฐมพยาบาล การช่วยเหลือผู้โดยสารและลูกเรือในกรณีฉุกเฉิน และการบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีของเครื่องบินที่บริษัทนำมาเข้าฝูงบินใหม่เพื่อให้บริการที่ทันสมัยมากขึ้น

เมื่อผ่านการประเมินแล้ว นอกจากจะได้รับการต่อสัญญาทำงาน ยังมีความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่งของชั้นบริการตามลำดับแล้ว แอร์โฮสเตสและสจ๊วตที่มีประสบการณ์และความสามารถมากๆ ยังมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งอื่นๆ สูงขึ้นอีก เช่น เลื่อนเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ เพอร์เซอร์ประจำเที่ยวบิน หรือไปเป็นครูฝึกในโรงเรียนการบิน เป็นต้น

สาวๆ หมวกแดงหลายๆ ชาติ หลายภาษา

ความต้องการแรงงาน

การประกอบอาชีพแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้น เป็นอาชีพที่ต้องการความคล่องแคล่ว ว่องไว ผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งนี้ จึงมักเป็นผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ (ช่วงอายุ 24-45 ปี) แต่พอมีอายุมากขึ้นก็ต้องย้ายไปทำงานในส่วนอื่น ที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป จึงทำให้การปลดเกษียณอายุของการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สั้นกว่าการทำตำแหน่งอื่น (ผู้ที่ปลดเกษียณการเป็น พนักงานต้อนรับ มักจะสามารถทำงานในภาคพื้นดินได้) ทำให้ความต้องการของอาชีพนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับการขยายตัวของสายการบินต่างๆ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ ที่เป็นต้นเหตุให้คนในประเทศต่างๆ ต้องมีการติดต่อกันเพื่อผลทางธุรกิจ จึงทำให้มีผู้คนที่ต้องเดินทางเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ที่มาติดต่อธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จึงเป็นอาชีพที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตราบเท่า ที่มีการขยายตัวของสายการบินต่างๆ ทั่วโลก

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)