Aviation_today_2

สถานการณ์ฟ้าปิดจาก COVID-19

าถึงเดือนกันยายน 2563 ซึ่งผ่านมามากกว่า 9 เดือนล้วที่ไวรัส้าย “COVID-19” ระบาดแพร่กระจายไปทั่วโลก และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง บางประเทศควบคุมให้ระบาดในวงจำกัดได้ ในขณะที่บางประเทศก็ควบคุมได้ยาก และเกิดการแพร่เชื้อลุกลามจนน่ากลัว เพราะความเชื่อของคนในชาตินั้นเกี่ยวกับความร้ายแรงของโรคนี้ ความมีอิสระเสรีมากจนรัฐบาลเองก็ยากจะต้านทาน ยิ่งหัวหน้ารัฐบาลเชื่อแบบขวางโลกก็ยิ่งแย่สุดๆ ในการดูแลป้องกัน ในขณะที่บางประเทศก็มีประชากรมากอยู่กันอย่างหนาแน่นแออัด การสาธารณสุขพื้นฐานก็มีไม่เพียงพอทั่วถึง ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไม่หยุด กระจายมากเป็นวันละแสนคน

สถานการณ์นี้ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจขนส่ง สายการบินต่างๆ ชงักงันกันไปทั่วโลก เกิดการล้มละลาย ขายกิจการ หยุดทำการบิน และท้ายที่สุดก็ถึงกับปลดนงานออก เพื่อให้บริษัทดำเนินธุรกิจต่อไปได้รอด คนที่อยู่ในสายอาชีพเหล่านี้ต่างก็หวาดหวั่นกลัวว่าจะโดนแจ็คพอตวันไหน (ให้ออก) หรือบ้างก็ลดเงินเดือนลงชั่วคราว 20-50% จนกว่าสถานการณ์จะปกติ บางบริษัทก็ให้ลาพักได้นานหลายๆ เดือนโดยไม่รับเงินเดือน เป็นต้น และยังมีกลยุทธทางการตลาดแบบแปลกๆ อีกมาก มาเล่าสู่กันฟังในวันนี้

ทัวร์ไม่ไปไหน…

เมื่อไปไหนก็ไปไม่ได้เพราะแต่ละประเทศก็ปิดน่านฟ้า ไม่ยอมให้เครื่องบินนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา เพื่อป้องกันโควิด-19 ขั้นสูงสุด ทำให้หลายๆ คนโหยหาการท่องเที่ยวมากๆ อยากแพ็คกระเป๋าขึ้นเครื่องบินไปทัวร์ต่างประเทศกันแก้เซ็ง แต่เมื่อบินไปไหนก็บินไปไม่ได้ตามเหตุผลข้างต้น หลายๆ สายการบินก็เกิดปิ๊งไอเดียจัดทัวร์พิเศษขึ้นมาเสียเลย เพื่อให้เหล่าผู้เดินทางอาชีพ (ติดงอมแงมกว่าเหล้าอีก) ได้คลายเครียด ในขณะเดียวกันสายการบินเองก็ได้เงินจากการให้บริการ (นักบิน ลูกเรือ มีงานทำ เครื่องบินได้บินวอร์มเครื่อง ฝ่ายช่างบำรุงได้ทำงาน มีแต่ได้กับได้)

EVA Air

สายการบิน EVA Air (อ่านว่า อี-วี-เอ-แอร์) ได้เริ่มทำการบินด้วยทัวร์พิเศษสำหรับนักเดินทางชาวไต้หวัน โดยใช้เครื่องบินแบบ Airbus A330 พาผู้โดยสารออกเดินทางจาก สนามบินนานาชาติเถาหยวน บินลัดเลาะรอบเกาะไต้หวันไปจนถึง เกาะรีวกีว ของประเทศญี่ปุ่น แล้วบินวนกลับมาลงจอดที่สนามบินนานาชาติเถาหยวนเช่นเดิม โดยเที่ยวบินนี้จะใช้เวลาทำการบินประมาณ 2 ชั่วโมง 45 นาที โดยไม่ได้ลงจอดที่จุดหมายปลายทางอื่นแต่อย่างใด

โดยผู้โดยสารที่เดินทางด้วยเที่ยวบินพิเศษนี้ จะได้รับบริการต่างๆ เหมือนกับการนั่งเครื่องบินไปเที่ยวต่างประเทศทุกประการ ตั้งแต่การเดินช็อปดิวตี้ฟรีภายในสนามบิน การที่ต้องผ่านด่าน ตม. (ตรวจคนเข้าเมือง) การ Boarding ผู้โดยสารขึ้นเครื่อง รวมถึงบริการบนเครื่องบินต่างๆ เช่น บริการ Wi-Fi และอาหาร โดยค่าโดยสารของเที่ยวบินพิเศษนี้ชั้นประหยัดมีราคาอยู่ที่ 5,288 ดอลลาร์ไต้หวัน ต่อคน (ประมาณ 5,598 บาท) ชั้นธุรกิจอยู่ที่คนละ 6,288 ดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 6,700 บาท) แพ็คเกจนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563 ซึ่งตรงกับเทศกาล “วันพ่อ” ของไต้หวันพอดี ตามข่าวแจ้งว่า มีผู้คนชาวไต้หวันที่ให้ความสนสนใจมากมาย รวมทั้งคนที่ไม่มีโอกาสไปต่างประเทศ แต่อยากมีประสบการณ์ก็สามารถใช้บริการได้ด้วย

China Airlines

สายการบิน China Airlines ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของไต้หวัน ก็มีเที่ยวบินพิเศษในลักษณะนี้เช่นกัน แต่จะเน้นไปที่กลุ่มผู้โดยสารประเภทครอบครัว โดยจะใช้ระเวลาการเดินทาง 2 ชั่วโมง พร้อมทั้งมีการพาเด็กๆ เข้าไปเยี่ยมชมห้องนักบินอีกด้วย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในเที่ยวบินปกติ ส่วนค่าโดยสารจะอยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์ไต้หวันต่อคน หรือประมาณ 6,351 บาท

ความพยายามของ 2 สายการบินในประเทศไต้หวัน นับว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะการจัดเที่ยวบินพิเศษที่แม้จะบินวนรอบประเทศ แล้วลงจอดที่สนามบินเดิม แต่ก็นับว่าเป็นส่วนช่วยลดความเบื่อหน่าย ให้กับคนที่อยากสัมผัสประสบการณ์นั่งเครื่องบินในช่วงนี้ได้อย่างวิเศษ

นอกจากสายการบินแล้ว ทางสนามบินนานาชาติเถาหยวนของไต้หวันเอง ก็นำไอเดียนี้มาจัดกิจกรรม “ทัวร์สนามบิน” ด้วยเช่นกัน ด้วยการจัดทริปราคา 1,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 1,065 บาท ให้ประชาชนได้เข้าเยี่ยมชมสนามบิน แวะชมเลานจ์ผู้โดยสารสุดหรูหรา ดูระบบการควบคุมภายในสนามบิน ใช้บริการในร้านดิวตี้ฟรี และขึ้นจุดชมวิวเครื่องบินที่สวยงาม ในทุกวันพฤหัสบดีและวันเสาร์ ตลอดเดือนสิงหาคม ปรากฏว่า แพ็คเกจนี้ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่เปิดให้จองภายในสองวันแรก Great! นับเป็นไอเดียที่สุด Create! เกินบรรยาย สร้างรายได้แล้ว แถมยังให้ลูกค้าที่คิดถึงการนั่งเครื่องบินเที่ยว ได้สัมผัสประสบการณ์การเดินทางด้วยเครื่องบินให้หายคิดถึงได้อีกด้วย

Singapore Airlines

ล่าสุดนี้ สายการบิน Singapore Airlines ก็ได้เอาแนวคิดนี้มาจัดบ้าง สำนักข่าวลูมเบิร์ก รายงานว่า สายการบินแห่งชาติสิงคโปร์กำลังวางแผนจัดแพ็คเกจท่องเที่ยว ‘ไม่ได้บินไปไหน’ (flights to nowhere) ทริปนี้ผู้โดยสารจะเริ่มต้นและจบที่สนามบินชางงี (Changi airport) เพื่อกระตุ้นกลุ่มธุรกิจบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน เป็นการขายแพ็คเกจท่องเที่ยวเหมือนบินไปต่างประเทศ พร้อมที่พักในเมือง บัตรกำนัลช้อปปิ้ง และบริการโดยสารเรือเฟอร์รี่หรือรถลีมูซีน มีกำหนดที่จะเริ่มเปิดให้บริการภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้

โดยจะใช้เครื่องบินแบบ Airbus A-350 จะนำพาผู้โดยสารทะยานสู่น่านฟ้าสิงคโปร์ เป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ก่อนทำการบินกลับมาที่สนามบินชางงีอีกครั้ง ซึ่งราคาชั้นประหยัดจะอยู่ที่ 288 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 6,500 บาท) และราคาชั้นธุรกิจจะอยู่ที่ 588 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 13,000 บาท)

เนื่องจากกฎการเดินทางที่เข้มงวด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกได้รับความเสียหาย รวมทั้งสายการบินแห่งชาติสิงคโปร์ที่ไม่มีบริการเที่ยวบินภายในประเทศเลย (ก็เป็นเกาะเล็กๆ นะครับ มีรถไฟใต้ดินหลายสายเดินทางสะดวกมากๆ บริการทั่วเกาะ ผู้เขียนมีโอกาสไปเที่ยวแบบ Backpack ราคาถูกด้วยตนเองไม่ผ่านทัวร์ ตะลอนไปทั่วเกาะใน 7 วัน สนุกมากครับ ถ้าเขาเปิดให้เดินทางได้ควรไปลองนะครับ ค่าใช้จ่ายไม่มากเลย) ซึ่ง สมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาชี้แจงว่า การเดินทางของผู้โดยสารจะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างปกติจนถึงปี 2024 ดังนั้น บรรดาสายการบินต่างๆ จึงต้องดิ้นรนทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างรายได้

อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ของสายการบินสิงคโปร์ ได้มี “กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ออกมาแสดงความกังวลถึง ผลกระทบด้านมลพิษทางเสียงและทางอากาศ ที่จะเกิดขึ้นจากการให้บริการดังกล่าว ก็ว่ากันไปครับ มองกันคนละมุม!

สถานการณ์ของ SIA Group หรือกลุ่มสายบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ไม่ค่อยดีนัก จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ก่อนหน้านี้เคยมีผลประกอบการณ์มีกำไรที่หลายๆ สายการบินอิจฉา การได้เข้าเป็นพนักงานหรือเป็น Singapore Girls นั้นเป็นความใฝ่ฝันของสาวๆ ไทยหลายคน เมื่อโควิดมาทางบริษัทฯ ได้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้วยการให้ลาพักแบบไม่รับเงินเดือนกว่า 6,000 คน (จากพนักงาน 27,000 คน)

พนักงานกลุ่มนี้ทำงานอยู่ในสายการบิน Singapore Airlines, Silk Air และ Scoot โดยพวกเขาสามารถไปทำงานอื่นกับบริษัทอื่นๆ ได้ชั่วคราว ในระหว่างที่ต้องลางานเเบบไม่ได้รับเงินเดือนนี้ เเละไม่ถือเป็นการผิดกฎของบริษัทเเต่อย่างใด

นอกจากนี้ พนักงานของ SIA Group มากกว่า 1,700 คน ทั้งนักบินเเละลูกเรือ ได้ลงทะเบียนเพื่อทำงานเป็นอาสาสมัครระยะสั้น และทำงานชั่วคราวในองค์กรอื่น เช่น สถานีขนส่งสาธารณะ สำนักงานบริการสังคมและโรงพยาบาล อีกทั้งยังมีหลายคนที่เลือกจะเป็นอาสาสมัครมาทำงานในสายการบินเองด้วย

ข่าวล่าสุด เมื่อ วันที่ 11 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา Singapore Airlines เตรียมปลดพนักงาน ซึ่งก็มีทั้งการลดจำนวนพนักงานจากการระงับไม่รับคนเข้าทำงานก่อน จากนั้น ก็ลดจำนวนคนด้วยโครงการลาออกด้วยความสมัครใจ พนักงานในสิงคโปร์และในต่างประเทศจะถูกปลดออก 2,400 ตำแหน่ง ส่วนอีก 1,900 ตำแหน่งคือ จำนวนพนักงานที่จะไม่รับเพิ่มเติม แม้ยังไม่ระบุว่า “ตำแหน่งใด” ที่จะได้รับผลกระทบ แต่ที่ชัดเจนคือ ทั้งพนักงานในสิงคโปร์และต่างประเทศล้วนได้รับผลแน่นอน

การตัดสินใจดังกล่าวของสายการบินสิงคโปร์ เกิดขึ้นหลังจากที่โควิดระบาดอย่างหนักหน่วง จนอุตสาหกรรมการบินถูก Disrupt จนสั่นสะเทือนไปทั่วโลก สิ่งที่สายการบินต่างๆ ทำคือการพยายามประคองสถานการณ์ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น หลายสายการบินล้วนปรับลดค่าจ้าง ปลดพนักงาน ลดต้นทุน เพื่อรับมือกับโควิดดังกล่าว สายการบิน IndiGo ของอินเดีย ก็เตรียมปลดพนักงานราว 10% จากทั้งหมด 27,000 คน รวมทั้งสายการบินในฟิลิปปินส์ และสายการบินในประเทศไทยหลายสายตามที่ปรากฏเป็นข่าวด้วย

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)