test_toeic_6

ความเปลี่ยนแปลงในการสอบ TOEIC 2020

วันนี้ขอเอารีวิวการสอบ TOIEC ในปีนี้ (2020) จากผู้สอบจริงคือคุณ Mad Scientist ที่ได้ไปสมัครสอบในตอนต้นเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ที่เตรียมตัวจะสมัครงานกับบริษัทที่ทำงานกับต่างชาติ รวมทั้งสมัครงานในธุรกิจสายการบินให้ทราบและเตรียมตัวกันครับ การเปลี่ยนแปลงมี 2 ส่วน คือ

  • ราคาค่าสมัครสอบ ที่เปลี่ยนจาก 1,500 บาท เป็น 1,800 บาท และ
  • ตัวข้อสอบเอง ซึ่งมีทั้งการปรับลดจำนวนข้อสอบและความยากง่ายให้เข้มข้นขึ้น ดังนี้

คุณ Mad Scientist ได้เล่าประสบการณ์การสอบในครั้งนี้ ดังนี้

ผมพึ่งมีโอกาสได้สอบ New TOEIC 2020 ที่เป็นข้อสอบใหม่ที่เปลี่ยนไปเมื่อตอนต้นเดือนมกราคม เพราะผลสอบอันเก่ามันผ่านไป 2 ปีแล้ว 55555 วันนี้เลยอยากมารีวิวข้อสอบใหม่ ให้ทุกคนที่มีความคิดอยากจะสอบ TOEIC ได้ลองอ่าน และเตรียมตัวก่อนไปสอบ ผมใช้เวลาเตรียมตัวสอบครั้งนี้ 5 วัน และฝึกทำข้อสอบใน Youtube ซึ่งหากใครสนใจจะลองค้นหาดู แล้วมาลองทำเป็นแนวทางคร่าวๆ ก่อนได้ครับ

การสอบ TOEIC นั้น มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

  • ข้อสอบมี 2 Parts; Listening กับ Reading
  • มีข้อสอบ 200 ข้อ (Part ละ 100 ข้อ)
  • คะแนนเต็ม 990 คะแนน (Listening 495, Reading 495)
  • เวลาสอบทั้งหมด 2 ชั่วโมง
  • Listening ใช้เวลาสอบ 45 นาที
  • Reading ใช้เวลาสอบ 75 นาที (1 ชั่วโมง กับอีก 15 นาที)

ข้อสอบ Listening แบ่งเป็น 4 parts จำนวน 100 ข้อ 45 นาที

Part I : Photograph จาก 10 ข้อ เหลือ 6 ข้อ

ในพาร์ทนี้ก็คล้ายๆ ของ TOEIC ปีเก่า ก็แค่ลดจาก 10 ข้อเหลือเพียง 6 ข้อ 
ส่วนตัวที่เคยทำมา พาร์ทนี้จะสามารถหลอกได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ ประธาน กริยา กรรม ต้องฟังดีๆ เท่าที่ลองสอบมาทั้ง 2 รอบ (แบบเก่าและแบบใหม่) จะมีตัวเลือกหลอกๆ ทำนองว่า รูปภาพ “กำลัง” แขวนอยู่บนวอลเปเปอร์ แต่ในรูปที่ให้มาคือ มันติดไว้อยู่แล้วไง ไม่ได้กำลังติด มันจะหลอกๆ ประมาณนี้

Part II : Question-Response จาก 30 ข้อ เหลือ 25 ข้อ

พาร์ทนี้ทั้งคำถามและคำตอบจะไม่มีเขียนในกระดาษคำถามเลย ต้องฟังเอาแล้วตอบอย่างเดียว ในพาร์ทนี้เท่าที่ดูก็ไมได้แตกต่างจากข้อสอบเก่าเท่าไหร่ ส่วนมากคำตอบของคำถามจะไม่จำเป็นต้องตอบตรงคำถามเป้ะๆ เช่น ถามว่าวันนี้พวกเราจะไปกินข้าวกลางวันที่ไหนดี คำตอบไม่จำเป็นต้องเป็น ไปกินร้านอาหารข้างนอกกันแกร แต่อาจจะบอกว่า ชั้นอิ่มแล้ว ไม่ไปดีกว่า อะไรแบบนี้ (สมมติ) อันนี้บทสนทนาทำได้เหมือนการคุยจริงๆ มากขึ้น เพราะบางทีไม่จำเป็นต้องตอบตรงคำถาม ก็ถือว่าเป็นการตอบคำถามแล้ว

Part III : Short Conversation จาก 30 ข้อ กลายเป็น 39 ข้อ

พาร์ทนี้เป็นบทสนทนาโต้ตอบกัน ระหว่างคนสองคนเป็นต้นไป สิ่งที่แตกต่างจากข้อสอบเดิมคือ มันจะมีบางข้อที่มีบทสนทนาระหว่าง คน 3 คน ต้องฟังดีๆ ว่าใครเป็นใคร คำถามบางทีก็จะลวงในตัวด้วย เช่น ข้อสอบถามว่า “ผู้ชาย”คนนี้มีความเห็นว่าอย่างไร แต่ในบทสนทนาตอนแรก ผู้หญิง อาจจะออกความคิดเห็นก่อน จากนั้นผู้ชายอีกคนถึงค่อยออกความเห็นตาม ก็ต้องเลือกฝนคำตอบความเห็นของผู้ชาย

เทคนิคส่วนตัวสำหรับพาร์ทนี้ คือ จะฝนทันทีระหว่างที่ฟังบทสนทนาอยู่ (ห้ามกาในกระดาษคำถามนะ) แล้วพอฟังจบ เราก็ไปอ่านคำถามกับคำตอบของข้อต่อไปรอเลย เพราะเคยลองฟังๆๆ อย่างเดียว แล้วค่อยกาทีหลังตอนลองฝึกทำข้อสอบ คือมันก็ฟังออกหมด แต่พอจะมากาคือ “ลืม” งงไปหมด สมองปลาทองมาก เพราะฉะนั้นแนะนำให้คน type เดียวกับผมว่า รู้คำตอบก็กาเลย แต่ถ้าบางคนถนัดฟังอย่างเดียวพร้อมมโนภาพตาม แล้วมากาทีหลังก็ได้ แต่ผมไม่สามารถจีง “งงงง” อันนี้ก็แล้วแต่เทคนิคใครเทคนิคมัน

Part IV : Short Talks 30 ข้อ เหมือนเดิม

พาร์ทนี้เป็นคนพูดคนเดียวเหงาๆ แนว Advertisement หรือ พนักงานพาทัวร์ หรือ voice message ต่างๆ นานา ที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ เมื่อก่อนข้อสอบพาร์ทนี้จะพูดอย่างเดียว เราก็ตอบคำถาม แต่เดี๋ยวนี้คือมี กราฟ หรือ รูปภาพ ให้ดู (ไม่ใช่ทุกข้อ แค่บางข้อ) เช่น กราฟผลตอบแทนของบริษัทเป็นไตรมาส หรือพวก Invoice แล้วมีคนโทรมา complain ว่า ของหาย ของไม่ครบ หรือ อยากจะสั่งเพิ่ม หรืออะไรก็ตามแต่ ที่เจอบ่อยๆ คือ โจทย์ให้ป้ายที่บอกราคาสินค้า แล้วโทรศัพท์โทรมาว่า “ขอสั่งอันนี้สามอัน อันนี้สองอัน” คำถามคือ “สรุปต้องจ่ายทั้งหมดเท่าไหร่” ก็ต้องเอามาคูณมาบวก อะไรประมาณนี้ แต่ตัวเลขไม่ได้ยากอะไรแค่ต้องมีสติ

เทคนิคส่วนตัวในพาร์ทนี้เหมือนกับพาร์ทที่ 3 เลยครับ

ข้อสอบ Reading แบ่งเป็น 3 parts 100 ข้อ 75 นาที

Part V : Incomplete Sentences จาก 40 ข้อ เหลือ 30 ข้อ

พาร์ทนี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมเลย แนวข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้น Vocab + Grammar ที่ออกบ่อยๆ คือ Part of speech ข้อสอบพาร์ทนี้ถ้าอ่านทวนแกรมม่า จะทำได้ไวมาก ควรไปอ่านทวนมาก่อนเล็กน้อย แล้วมันจะดูแค่แว๊บเดียว แล้วตอบได้เลย ต้องรีบทำนะครับเพราะพาร์ท 7 จะใช้เวลานานมากกกกกกกกกกกก

Part VI : Text Completion จาก 12 ข้อ เป็น 16 ข้อ

ข้อสอบจะให้เป็น passage มาแล้วให้เติมคำในช่องว่าง สิ่งที่ต่างไปจากเดิม คือ ใน passage หนึ่ง จะมีประมาณหนึ่งข้อที่ให้เติมคำในช่องว่างเป็นประโยคยาวๆ ให้เหมาะสมกับบริบทรอบๆ ประโยค นอกนั้นก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิม

Part VII : Reading Comprehension 54 ข้อ

สิ่งที่ทำให้พาร์ทนี้ยากมากคือ “เวลา” เพราะพาร์ทนี้ใช้เวลาทำนานมาก เพราะข้อความมันเยอะ ตัวข้อสอบจะแบ่งเป็น Single passage (ซึงมีความทันสมัยมากขึ้น เพราะบางทีจะให้อ่านแชทในมือถือ, ในคอมพิวเตอร์ เป็นต้น) และ Double passage แล้วที่เพิ่มเข้ามาในข้อสอบใหม่คือ Triple passage ความเห็นส่วนตัวคือ ข้อความมันไม่ได้ยาก เข้าใจได้ง่าย แต่ที่ยากจริงๆ คือ เวลา พาร์ทนี้ไม่ควรอ่านแบบทั้งหมด ต้องใช้ความสามารถในการสแกนหาคำตอบในตัวคำถาม อันนี้แนะนำให้ลองไปฝึกทำมาก่อน จะได้รู้ว่าอ่านด้วยความเร็วเท่านี้ จะทันเวลามั้ย ยิ่งข้อหลังๆ จะยิ่งมีความยาว เป็นอีเมลล์ตอบกลับไปมา สับสนและเวียนหัว ตรงนี้ต้องรีบๆ หา

เทคนิคส่วนตัวของนี่เลยคือ “อ่านคำถามก่อน” จะได้รู้ว่าต้องไปเน้นหาคำตอบที่จุดไหน แล้ว “อ่านแบบสแกนๆ ให้รู้เนื้อหาคร่าวๆ” แล้วรีบตอบคำถาม

ทั้งหมดน่าจะประมาณนี้ครับ สำหรับการสอบ New TOEIC 2020

ในความเห็นของผมในเรื่องของระดับความยากนั้น ผมคิดว่า มันกระโดดขึ้นมาอีกขั้นนึง (อาจเพราะยังไม่ชินกับข้อสอบใหม่มั้ง อันนี้แล้วแต่ความเห็นแต่ละคนเนาะ) เพราะเมื่อเทียบกับข้อสอบเก่า เช่น ในพาร์ท 4 ปกติจะพูดอย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้มีรูปภาพ แล้วก็ต้องวิเคราะห์อีก คำตอบจะไม่พูดตรงตัว เน้นว่าต้องเข้าใจรูปประโยคจริงๆ ถึงจะสามารถตอบได้ แต่ระดับการใช้ภาษาของข้อสอบยังคงเดิม ไม่ต้องกลัวไป 55555+

แถม passage ในพาร์ทที่ 7 ยาวมากกกกก เมื่อก่อนแค่ 2 passage ก็กินเวลาแล้ว มาตอนนี้ ข้อท้ายๆ จะมี 3 passage ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบ passage แรก เป็นประกาศอะไรซักอย่าง ส่วน passage 2 และ 3 จะเป็นอีเมลล์โต้ตอบกัน เข้าใจว่าทาง ETS อาจจะวัดความสามารถในการเข้าใจสารที่ต้องการจะสื่อของ passage ต่างๆ ในเวลาที่จำกัด มากกว่าจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด เพราะดูแล้วยังไงก็ไม่ทันเวลาแน่ๆ ถ้าจะให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง

การอ่านหนังสือแนะนำว่า ควรอ่านหนังสือติว TOEIC ซักเล่ม ที่สอนแกรมม่าก่อนพร้อมข้อสอบ เล่มไหนก็ได้ หรือหาดูรีวิวในเน็ตก็ได้ เพราะแกรมม่าพวกนี้จะช่วยในเรื่องการทำข้อสอบพาร์ทที่ 5 มันจะไปไวมาก พอทำไว จะได้มีเวลาทำพาร์ทที่ 7 แล้วก็ลองทำข้อสอบ New TOEIC 2020 ใน Youtube ดู จะได้กะเวลาถูกๆ ย้ำอีกครั้งว่ามันใช้เวลาจริงๆ อ้อ! ค่าสอบก็ขึ้น จาก 1,500 บาทเป็น 1,800 บาทแล้วนะ

หนังสือที่แนะนำที่ผมเคยลองๆ ดูแล้วค่อนข้างมีประโยชน์ (แต่ก็อ่านไม่จบนะ 5555) ก็จะเป็น

  • 600 Essential Words for The TOEIC by Barron : เล่มนี้จะแบ่งคำศัพท์เป็นหมวดหมู่ เช่น job interview, business, etc. ที่เป็นหมวดหัวข้อที่เจอบ่อยๆ ใน TOEIC ไว้เพิ่มคลังคำศัพท์ และมีข้อสอบในแต่ละบทให้ทำ ซึ่งเป็นข้อสอบที่รวมคำพวกนี้อยู่ แนะนำให้อ่านถ้ามีเวลามากพอ (เล่มนี้ผมอ่านไม่จบ แต่อ่านได้ประมาณ 15 chapter จาก 40 กว่าๆ มั้งแล้วมีประโยชน์จริง +++++ เลย)
  • Tactics for TOEIC: Listening and Reading Test : แม้ว่าตัวข้อสอบจะยังเป็นข้อสอบเก่า (ยังไม่ใช่ New TOEIC 2020) แต่พวกแนวข้อสอบ เทคนิคการล่อหลอก ก็ยังใช้ได้อยู่ และมีความเหมือนจริง ไม่อยากให้พลาดเหมือนกันสำหรับตัวนี้
  • หนังสือTOEIC แกรมม่าดีๆ ซักอัน : อันนี้ผมไม่ลงรายละเอียดหนังสือเฉพาะเจาะจง แต่ผมแนะนำให้หามาดู เพราะจะช่วยมากในเรื่องข้อสอบ Reading ทั้งเรื่อง part of speech (เช่น adv, adj ทำหน้าที่อะไร วางตรงไหน) และแกรมม่าอื่นๆ ที่เห็นบ้างประปรายในข้อสอบ แต่ถ้าที่ผมอ่านมาก่อนสอบก็คือ TOEIC complete guide book ฉบับข้อสอบใหม่ 500 ข้อ (ไม่ใช่ New TOEIC 2020) ของผู้แต่ง เพ็ญใจ สินเสมอสุข ส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างโอเคเลย กับการอ่านเพื่อฟื้นคืนแกรมม่าที่หายไป 5555555

ขอย้ำอีกทีเลยว่า ถ้าอยากได้คะแนนดีๆ ต่อให้เก่งแค่ไหน ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า ยังไงก็ควรลองทำข้อสอบดูก่อน หนึ่ง ถึง สองชุด ก็ยังดี เพราะสิ่งที่ปราบเซียนจริงๆ ในความเห็นผมคือ “เวลา” ครับ ผมเชื่อว่าถ้าให้เวลากับ Reading ซัก 2 ชั่วโมง คะแนน average ทั้งประเทศออกมาสูงกว่านี้แน่ครับ แต่นี่ได้แค่ 75 นาที ถ้าได้มีโอกาสลองข้อสอบก่อน มันจะกะเวลาถูกว่า อ่านด้วยความเร็วประมาณนี้ มันจะทันมั้ย จะเข้าใจรึเปล่า เพราะค่าสอบก็ไม่ใช่ 100 200 เด้ออ้ายเด้อออออ

ยังไงขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบครับ ได้น้อยก็ไม่ต้องเสียใจครับ เรียนรู้เป็นประสบการณ์ คราวหน้าเอาใหม่ ซักวันมันต้องเป็นวันของเราครับ

Mad Scientist

เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

อยากได้คะแนนเท่าไหร่ในการทดสอบ คุณต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ “รู้แล้วว่าอยากได้กี่คะแนน” สมมติว่าอยากได้ 650 คะแนน เราก็มาดูกันว่า “มันไกลเกินเอื้อม” หรือเปล่านะครับ คงต้องใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ล่ะ

ข้อสอบทั้งหมดมี 200 ข้อ คะแนนเต็ม 990 คะแนน… ถ้าหารแบบให้เป็นตัวเลขออกมากลมๆ ลงตัว ก็จะได้ 990/200 = 5 หมายความว่า เฉลี่ยข้อสอบ TOEIC มีคะแนนข้อละ 5 คะแนนนั่นเอง (จริงๆ แล้วมันไม่ค่อยตายตัวนะ บางข้ออาจจะ 4 บ้าง 5 บ้างตามความยากง่าย เขาถึงไม่ให้คะแนนเต็ม 1,000 ไง)

ทีนี้เราก็เอาคะแนนที่เราอยากได้ในการสอบมาหารด้วย 5 ก็จะได้จำนวนข้อที่เราต้องทำให้ถูก โดยคร่าวๆ เช่น

อยากได้ 650 เอา 5 มาหาร 650/5 = 130

… คือ ถ้าอยากได้คะแนน 650 ต้องทำถูก 130 ข้อเท่านั้น!!!!! จาก 200 ข้อนะครับ

ถ้ามันยังไม่ได้กำลังใจเพียงพอ เอ้า! พูดใหม่ก็ได้ ถ้าอยากได้ 650 คะแนน เรากาผิดได้ 70 ข้อ!!! จาก 200 ข้อ Oh My Gosh!!! ผิดได้ 70 ข้อเชียวนะครับ… เริ่มเห็นความเป็นไปได้หรือยังครับ

ใครอยากได้ 500 คะแนน ก็ 500/5 ครับ ทำถูกแค่ 100 ข้อ ผิดได้ตั้ง 100 ข้อ WOW!!!

ใครเคยได้ 350 คะแนน คุณก็กาผิดไปแค่ 130 ข้อแค่นั้นเอง …. จริงไหม?

จากประสบการณ์ของผมเองที่เคยสอบหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลาย ปริญญาตรี และเมื่อมาทำงานแล้วหลายปีมานี้ ผมก็ไปทดสอบตัวเองมาหลายครั้งนะ เพื่อทบทวนตนเอง มันก็ไม่ยากไม่ง่ายเท่าไหร่ หลายคนบอกว่า “ยากทำไม่ได้” แต่ผมกลับเห็นว่าว่า “หลายๆ คนทำได้นะ แต่ทำไม่ทันซะมากกว่า” เพราะแบ่งเวลาไม่เป็น ดังที่คุณ Mad Scientist บอกเทคนิคไว้นั่นแหละ ต้องสปีดทำในบางจุด อ่านแบบสแกนเพื่อจับใจความให้ได้เร็วๆ อย่ามัวไปแปลทุกคำจนเวลาไม่พอที่จะทำในข้อหลังๆ เป็นกำลังใจให้นะครับ 😀 😛 🙂 

Loading

About Post Author

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)