SUPY Flights!
เที่ยวบินสำหรับลูกเรือ(มือ)ใหม่
ส่วน “ลูกเรือน้องใหม่” อย่างพวกเรา กว่าจะได้ทำงานแบบเต็มตัว เราก็ต้องมีไฟลท์สังเกตการณ์ หรือ Supernumerary flight สองไฟลท์กันก่อน โดยบินกับเครื่องบิน Airbus หนึ่งครั้ง และ Boeing หนึ่งครั้ง ซึ่งก็จะเป็นไฟลท์แบบ Turnaround นั่นเองครับ ความพิเศษของ Supy Flight ก็คือการได้เข้าไป “นั่งในห้องนักบิน” ในระหว่างเครื่องบินขึ้นและลง โดยจุดประสงค์แรก ก็เพื่อศึกษาการทำงานของนักบิน โดยเฉพาะช่วงที่นักบินจะนำเครื่องบินขึ้นและลงนั่นเอง
สำหรับ Supy Flight ก็จะมีโอกาสได้บินกับเพื่อนร่วม Batch เดียวกันที่ฝึกมาด้วยนะครับ โดยจุดหมายปลายทางที่ได้ไปในสองไฟลท์นี้ก็คือ Mumbai และ Kuwait City ใช้เวลาบินประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ ครับ
กระบวนการของ Supy Flight ก็เหมือนกับ Operational flight ทุกประการเลยนะครับ ได้แก่ เริ่มด้วยการไปเช็คอินที่ Crew Briefing Center สองชั่วโมงก่อนเวลาเดินทาง ผ่านการตรวจความปลอดภัย และเข้าห้อง Briefing ตามปกติ เพื่อรับข้อมูลการบิน ที่สำคัญคือ การนั่งฟัง Safe talk นั่นเองครับ ถึงเราจะไม่ได้ถูกถาม แต่ก็น่าตื่นเต้นทีเดียว โชคดีที่ Purser (หัวหน้าลูกเรือในเที่ยวบินนั้นๆ) ให้ลองตอบคำถามดู เพื่อความมั่นใจ ก็ผ่านมาได้ด้วยดีครับ
จากนั้นเราก็นั่งรถบัสไปยังเครื่องบินซึ่งไฟลท์แรกใช้ Airbus A-330 ส่วนไฟลท์ที่สองก็เป็น Boeing B777 – 300ER หน้าที่ของเราก็คือ “สังเกตการทำงานของลูกเรือ” ที่เป็น Operational Crews ได้แก่ การทำ Pre-flight safety and security check ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ การเตรียม Cabin และ Pre-flight service และท้ายสุดคือ การรับ Boarding ผู้โดยสารนั่นเองครับ พวกเรา Supy ก็ช่วยได้บ้าง ช่วยไม่ได้บ้าง ส่วนมากก็จะจับนู่นหยิบนี่ซะมากกว่า เพื่อให้คุ้นชินกับตำแหน่งของอุปกรณ์ทั้งในเคบิน และในห้องครัวครับ รวมถึงเป็นครั้งแรกที่จะได้เห็นอะไรแบบจริงๆ อย่าง Crew Rest Compartment ด้วยครับ
หลังจาก Boarding ผู้โดยสารครบหมดแล้ว ถึงเวลาที่ต้องไปนั่งในห้องนั่งบินแล้วหล่ะครับ ซึ่งหลังที่นั่งของนักบินจะมีเก้าอี้สองตัวสำหรับผู้สังเกตการณ์ และก็เป็นโอกาสที่เราจะได้ฟังการสนทนาของนักบิน กับหอบังคับการบินผ่านหูฟังที่จัดไว้ และทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์และเครื่องมือในห้องนั่งบินด้วย
แต่จุดที่เป็น Climax ที่สุดก็คือ การได้มานั่งดูนักบินเอาเครื่องบินขึ้น และลงต่างหากครับ เพราะว่าน้อยคน ที่จะได้มีโอกาสเข้าไปนั่งใน Cockpit ในช่วงเวลาแบบนี้ ก็ตื่นเต้น แล้วก็รู้สึกแปลกๆ เหมือนกันครับ เพราะว่าได้นั่งเกือบจะหน้าสุด ความรู้สึกก็แปลกๆ ได้เห็นวิวแปลกๆ ที่แตกต่างจากผู้โดยสาร เป็นความรู้สึกที่วิเศษจริงๆ ที่ลูกเรือจะได้รับโอกาสแบบนี้
พอเครื่องจะลงเราก็กลับไปใน Cockpit อีกครั้ง เพื่อดูการทำงานในช่วงการนำเครื่องบินลงจอด และนำเครื่องบินเข้าเทียบอาคารผู้โดยสาร บางครั้งก็สังเกตได้ว่า นักบินเองยังหลงทางได้เลยครับ เวลานำเครื่องเข้า gate เพราะบางสนามบินออกแบบมาได้ซับซ้อนเกินไป หรือบางทีนักบินก็ไม่ได้มาบินเส้นทางนี้นานๆ ดังนั้น กัปตันก็อาจจะงงๆ กับทิศทางบ้างเล็กน้อยนะครับ
ในระหว่างพักเครื่องทำความสะอาดเคบิน และเติมน้ำมัน เราก็จะได้มีโอกาสเหยียบพื้นดินกันบ้าง เพราะจะต้องติดตามนักบินไปทำการ Walk around คือ นักบินจะต้องทำการตรวจสภาพภายนอกของเครื่องบิน เป็น Pre-flight check ของส่วนนักบินนั่งเองครับ โดยนักบินก็จะตรวจตั้งแต่ Nose Gear ส่วนหน้าเครื่อง ปีกซ้าย-ขวา ใต้ท้องเครื่องบิน เครื่องยนต์ เสาอากาศ Langing Gear แพนหาง เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ก็พร้อมออกเดินทางกลับดูไบแล้วครับ
สำหรับลูกเรือ Supy ก็จะมีสมุดหนึ่งเล่มสำหรับเป็น Checklist ในสิ่งที่จะต้องคุ้นเคย อาทิเช่น ขั้นตอนการเปิดปิดประตู ตำแหน่งของอุปกรณ์ความปลอดภัยครับ
สรุปว่า Supy Flight ก็เป็นไฟลท์ง่ายๆ สบายๆ ที่ให้เน้นให้เราเรียนรู้และสังเกตว่า ในห้องเรียนที่เรียนมา กับในชีวิตการทำงานจริง เหมือน หรือต่างกันอย่างไร รวมถึงเป็นการมอบประสบการณ์ที่ล้ำค่าที่สุดครั้งนึงในชีวิต ให้กับลูกเรือธรรมดาๆ ที่จะได้เข้าไปนั่งใน Cockpit ที่ไม่ธรรมดาเลยครับ
การให้บริการบนเครื่องของเรา
ภาพการ Landing ที่สนามบินดูไบ