บทที่ 8 > 8.2 พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร >
              8.2.3 โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล
8/15  
     
   
            เทคโนโลยีทางด้านการรับส่งสัญญาณดิจิทัลได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นลำดับจนสามารถกำหนดให้สายจากต้นทางส่งสัญญาณเข้าชุมสายโทรศัพท์ที่เป็นแบบดิจิทัลได้ การผสมสัญญาณทางดิจิทัลจึงทำได้ง่าย การใช้งานหลาย ๆ อย่างบนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันจึงเป็นไปได้ เช่น บริการเครือข่ายข้อมูลซึ่งเป็นการส่งข้อมูลบนสายโทรศัพท์พร้อมการใช้งานโทรศัพท์ได้

            เมื่อเป็นเช่นนี้มาตรฐาน โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล จึงเกิดขึ้น มาตรฐานนี้ได้แบ่งแถบกว้างในการใช้สายโทรศัพท์ออกเป็นแถบย่อยซึ่งมีแถบการส่งพื้นฐานที่เรียกว่าช่อง B อยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีความเร็วการส่งข้อมูลขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาที และแถบการส่งสัญญาณข้อมูล อีกช่องหนึ่งเรียกว่า ช่อง D ระบบมาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลขณะนี้จึงเป็น 2B+D โดยช่อง D มีความเร็ว 16 กิโลบิตต่อวินาที เมื่อรวมความสามารถของสายโทรศัพท์จะทำให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ 144 กิโลบิตต่อวินาที

              การใช้มาตรฐาน 2B+D นี้ทำให้สายโทรศัพท์ที่ใช้งานทำการรับข้อมูลหรือเสียงได้พร้อมกัน ความจริงแล้วถ้าต่อใช้งานในระบบแอนะล็อก สายโทรศัพท์เส้นหนึ่งจะใช้บริการได้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะทำให้สามารถใช้สัญญาณได้พร้อมกันมากกว่าสองช่องสัญญาณเสียง และสามารถใช้ร่วมกับสัญญาณข้อมูลอื่นพร้อมกันได้อีกด้วย

 

 
     
 
ก่อนหน้า   ถัดไป