|
บทที่ 7 > 7.2 การสื่อสารข้อมูล > การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม |
7/8 |
|
|
|
|
|
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม |
|
|
|
ในการโอนถ่ายข้อมูลแบบอนุกรม
ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ต้องการตัวกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียว หรือสายเพียงคู่เดียว
ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนาน สำหรับการส่งระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้ว
ย่อมเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง
เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่ง จะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน
แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิต ไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่รับมาทีละบิต
ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1
|
|
|
|
การติดต่อแบบอนุกรมอาจแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งได้ 3 แบบ
- การสื่อสารทางเดียว (simplex)
- การสื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half-duplex)
- การสื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full-duplex)
|
|
|
|
|
|
|
|
|