|
บทที่ 4 > 4.2 หน่วยรับเข้า > 4.2.2 อุปกรณ์รับเข้าแบบชี้ตำแหน่ง |
4/9 |
|
|
(3)
ก้านควบคุม (Joystick) อุปกรณ์รับเข้าชนิดนี้เป็นที่คุ้นเคยของนักเรียนที่นิยมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีการแสดงผลเป็นกราฟิก ที่ตัวผู้เล่นที่ปรากฏบนจอภาพต้องมีการเคลื่อนที่เพื่อทำภาระกิจตามกติกาของเกม
ตัวผู้เล่นที่ปรากฏบนจอภาพเปรียบได้กับตัวชี้ตำแหน่งที่ปรากฏในการซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
และก้านควบคุมนี้ก็ทำหน้าที่เหมือนเมาส์ที่คอยกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ
โดยลักษณะของก้านควบคุมจะคล้ายกล่องที่มีก้านโผล่ออกมา และก้านนั้นสามารถบิดขึ้น
ลง ซ้าย ขวาได้การเคลื่อนที่ของก้านนี้เองที่เป็นการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง |
|
|
|
ก้านควบคุม (Joystick) |
หลักการทำงานของก้าานควบคุม จะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ภายในที่เรียกว่า โพเทนชันมิเตอร์
(potentionmeter) 2 ตัว โพเทนชันมิเตอร์จะหมุนตามและอ่านค่าทิศทางการบิดของก้านควบคุม
โพเทนชันมิเตอร์ตัวหนึ่งจะรับรู้ทิศทางในแนวแกน x หรือแนวนอน (horizontal
line) ในขณะที่อีกตัวหนึ่งจะรับรู้ทิศทางในแนวแกน y หรือแนวตั้ง
(vertical line) การอ่านค่าของการบิดก้านควบคุมของอุปกรณ์ทั้ง 2
ชิ้นจะให้สัญญาณไฟฟ้า 2 สัญญาณที่เป็นอิสระต่อกันส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
และเป็นข้อมูลที่ไปกำหนดการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่งหรือตัวของผู้เล่นบนจอภาพ
ดังนั้น จะเห็นว่าการทำงานของก้านควบคุมจะไม่ให้รายละเอียดมากเพียงแค่ให้ผู้ใช้เห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวชี้ได้เท่านั้น
|
|
|
|
|
|