ทฤษฎีวงแหวนของนิวตัน
วัตถุประสงค์
เพื่อวัดอัตราเร็วของเสียงในอากาศในท่อ โดยวิธีกระตุ้นด้วยส้อมเสียงที่ทราบค่าความถี่ ให้อากาศในท่อสั่นพ้อง (เกิดการสั่นพ้อง ระหว่างการสั่นของลำอากาศกับการกระตุ้นของส้อมเสียง)
ทฤษฎี
การสั่นพ้องหรือการกำทอน คือปรากฏการณ์ที่เกิดจากระบบ 2 ระบบซึ่งระบบหนึ่งสั่นด้วยความถี่ธรรมชาติ อีกระบบหนึ่งสามารถปรับความถี่ได้ ถ้าเราปรับความถี่ของระบบนี้ให้เท่ากับความถี่ของระบบแรก จะทำให้ระบบแรกสั่นด้วยแอมปลิจูดมากขึ้นและสั่นนาน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าเกิดการสั่นพ้องหรือกำทอน กำทอนของเสียงคือการเกิดคลื่นนิ่งในท่อทดลองนั่นเอง รูปข้างล่างเป็นการเกิดการสั่นพ้อง โดยเราต้องปรับความยาวของท่อทดลอง (โดยการปรับระดับน้ำ) ให้เกิดคลื่นนิ่ง นั่นแสดงว่าขณะนั้นความถี่ของคลื่นนิ่งในท่อทดลองเท่ากับความถี่ของแหล่งกำเนิด
 |
จากรูปจะได้
สามารถคำนวณหาความยาวคลื่นได้จาก
โดย L คือความยาวของท่อ และ n คือจำนวนบัพ โดย n = 1, 2, 3, ... และ
|
ดังนั้นกำทอนในท่อปลายเปิดข้างหนึ่งจะเกิดเมื่อ 
แต่ในการทดลองจริงนั้น ตำแหน่งของปฏิบัพไม่ได้เกิดตรงปากท่อพอดี แต่จะอยู่เลยขึ้นมาด้านบนเป็นระยะทาง ε ดังนั้นจะได้ว่า 
ในที่นี่ ε เป็นค่าเล็กๆที่ขึ้นอยู่กับรัศมีของท่อ และเรียก ε ว่า "End Correction"
เราสามารถทำการทดลองเพื่อหาค่า λ และ ε ได้ จากนั้นก็หาอัตราเร็วของเสียงในอากาศจากสูตร 
ซึ่ง ƒ เป็นความถี่ของส้อมเสียงที่ใช้
อุปกรณ์การทดลอง
- หลอด (ท่อ) Resonance Tube ซึ่งมีน้ำบรรจุภายใน
- ส้อมเสียง
การทดลอง
 |
- เคาะส้อมเสียงเบาๆ แล้วนำไปจ่อที่เหนือปากท่อ โดยห่างจากปากท่อประมาณ 1 เซนติเมตร
- ปล่อยให้ระดับน้ำลดลงเร็วพอสมควรแล้วสังเกตการก้อง
- อ่านตำแหน่งของระดับน้ำขณะที่เกิดการก้องให้ละเอียดถึงระดับมิลลิเมตร เพื่อหาค่า L1 และ L2
หมายเหตุ ควรทำการวัด L1 และ L2 อย่างละหลายๆ ครั้ง เพื่อหาค่าเฉลี่ย
ทำการแก้สมการ
|
หาค่า λ และ ε ซึ่งค่า ε นี้ไม่ควรเป็นลบ นอกจากทดลองไม่ดี และ ε ก็ไม่ควรมีค่ามากนัก ไม่ควรเกิน 1 เซนติเมตร
จากนั้นคำนวณหาค่าอัตราเร็วของเสียงในอากาศโดยใช้ 
โดยใช้ค่า ƒ ที่ตัวส้อมเสียง
รายงานผลทั้ง v และ ε พร้อมทั้งความคลาดเคลื่อนของ v
|